หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บางนา, บางนา, Thailand
อยากเก่ง

15.8.58

การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง

ความหมายของความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง
ความหมายของความเสี่ยง
           ความหมายที่ 1 ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่ถึงประสงค์ที่จะส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดความเสียหายและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ความหมายที่เหมือนกันคือความไม่แน่นอนที่อาจนำไปสู่ความสูญเสีย
           ความหมายที่ 2  ความเสี่ยง (Risk)  คือ เหตุการณ์ หรือ การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบ  หรือ  สร้างความเสียหาย ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน หรือ  ก่อให้เกิดความล้มเหลว หรือ ลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย 
           ความหมายที่ 3  ความเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จ ภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่น การจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรม ที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
           ดังนั้น ความเสี่ยง (Risk) จึงหมายถึงโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ อันส่งผลกระทบที่ให้ดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของสถานศึกษา

ความหมายของการบริหารความเสี่ยง
ความหมายที่ 1 การบริหารความเสี่ยง (Risk management) หมายถึง การจัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ  และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident)
ความหมายที่ 2 การบริหารความเสี่ยง (Risk management) หมายถึง การบริหารจัดการ เพื่อป้องกัน ควบคุม ลดปัญหา  ความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้
         ดังนั้น การบริหารความเสี่ยง  (Risk management) จึงหมายถึง  การจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถควบคุมได้ และไม่เกิดผลเสีย

ความเป็นมาของการบริหารความเสี่ยง
          การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหลายเหตุการณ์เป็นภาวะที่คาดเดาได้ยาก เนื่องจากสาเหตุปัจจัยหลายประการ เช่นความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการคิดค้นและผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ของมนุษย์ กระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบพลเมืองโลกอย่างไรพรมแดน และภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบนโลก อันเนื่องจากการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไร้ขีดจำกัด ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบในการบริหารจัดการขององค์กร ทั้งในผลบวกและผลลบซึ่งผลลบที่เกิดขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโอกาสในการดำเนินภารกิจขององค์กร ให้บรรลุผลสัมภาษณ์ตามเป้าประสงค์หรือตามแผนที่จะพัฒนาองค์กรได้
         สถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางด้านเศรษฐกิจ ที่กลายเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหา ความรุนแรง การเอารัดเอาเปรียบ ส่วนทางด้านสังคม เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ด้านคุณธรรม จริยธรรมกลับเสื่อมถอยลง มีการแพร่กระจายของสารเสพติด สภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภัยคุกคามที่มีผลต่อความปลอดภัยของเด็กและเยาวชน การดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชนในปัจจุบันจึงอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิตและขาดการดูแลอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งต้องคุ้มครอง พัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาค ทั้งหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบัน
การบริหารงานขององค์กรทุกประเภททั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน ทุกองค์กรจะตั้งวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจน เช่น เพื่อคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างผลกำไร เพื่อการให้บริการประชาชน เป็นต้น ไม่ว่าจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้เช่นใดก็ตามการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นมักจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามที่ตั้งไว้เพราะองค์กรมักจะประสบกับความเสี่ยงอยู่เสมอ ทั้งนี้อาจปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียต่อทรัพย์สิน สูญเสีย โอกาสเสียเวลาดำเนินงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทรัพยากรและพลังงานรวมไปถึงการส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของทั้งบุคลากรและผู้รับบริการอีกด้วย  นอกจากนี้ยังพบความเสี่ยงจากสื่อต่าง ๆ มีการพาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับเรื่องเสี่ยงเจ็บ - เสียชีวิต ชีวิตลูกในรั้วโรงเรียน ล้วนเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น
          ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานครได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและหน่วยงานอีกหลายแห่ง โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพได้ดำเนินการโรงเรียนปลอดภัย 20 แห่งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในการพัฒนากระบวนการสร้างความปลอดภัย 6 ด้านด้วยกันคือ สิ่งแวดล้อม ระบบคุ้มครองการเดินทางไปกลับโรงเรียนการจัดกิจกรรมการศึกษา การสอนหลักสูตรความปลอดภัยและแผนฉุกเฉินในโรงเรียนและปัญหาการศึกษาคือการขาบุคลากรฝ่ายสนับสนุนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูมีวุฒิไม่ตรงกับวิชาที่สอนตามผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เลือกระดับความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงเป็นหัวข้อการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ 17 ที่หน่วยงานในสังกัดต้องดำเนินการ และได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดให้ส่วนราชการต้องมีการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน จึงเห็นได้ว่าการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่สถานศึกษาจะเกิดความเสี่ยงให้ระดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สถานศึกษายอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ

ลักษณะของความเสี่ยง
          1. ความเสี่ยงด้านการเงิน หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ค่าใช้จ่ายรายหัว การจัดทำบัญชีการเงิน ใบเสร็จรับเงิน การใช้จ่ายเงิน เงินยืม การจัดทำทะเบียน การจัดทำรายงานการขอซื้อ ขอจ้าง การเขียนเช็คสั่งจ่าย
          2. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการดำเนินงานด้านการแนะแนว ความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน การประกันคุณภาพ การพัฒนาโรงเรียนและพฤติกรรมนักเรียนงานธุรการ การกำกับติดตาม การพัฒนาวิธีการจัดกิจกรรมความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน
          3. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องนโยบาย แผน พันธกิจกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา
          4. ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ/ข้อบังคับ หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องวินัย การตรวจสอบภายใน/ควบคุมภายใน การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ/มาตรการ/ข้อกำหนดจากต้นสังกัด
          5. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี/การสื่อสาร หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
          6. ความเสี่ยงด้านร่างกาย หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของบุคลากรในสถานศึกษา เช่น การลื่นหกล้ม การทำร้ายร่างกาย การได้รับบาดเจ็บภายในสถานศึกษารวมไปถึงสุขภาพและความปลอดภัยทางด้านร่างกาย
          7. ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ ชื่อเสี่ยง หมายถึง ชื่อเสี่ยงของการจัดการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร การสอนของครู คุณภาพของนักเรียน การยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบต่อสถานศึกษา
          8. ความเสี่ยงด้านการทุจริต หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องหลักฐานทางการเงินสูญหายเอกสารทางการเงินถูกปลอมแปลง และการนำทรัพย์สินไปใช้ส่วนตัว
          9. ความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการระดมทรัพยากรการนิเทศ การปฏิบัติงานของบุคลากร การโยกย้ายผู้บริหาร
          10. ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้
          11. ความเสี่ยงด้านความมั่นใจทางการศึกษา หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการร้องเรียนความเชื่อมั่น/ความมั่นใจ ชุมชนรอบโรงเรียนไม่ได้ความสำคัญต่อการร่วมมือในการพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียน การให้บริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอกหรือชุมชน
          12. ความเสี่ยงด้านข้อตกลงทางวิชาการ หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการทำการบ้านน้อยหรือไม่มีการบ้าน การไม่ตรวจงาน/การบ้าน การเลิกเรียนกลางคัน การไม่สนใจการเรียนรวมถึงความผูกพันกับสถานศึกษา การให้รางวัลและการลงโทษ
          13. ความเสียงด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องความเสี่ยงภายนอกโรงเรียน
ความเสี่ยงภายในโรงเรียน ความเสี่ยงภายในอาคารเรียน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
การฝึกซ้อม/สอนวิธีการหลบภัยธรรมชาติ การเฝ้าระวังความเสี่ยง

  ลักษณะของปัจจัยเสี่ยง
          ปัจจัยเสี่ยงควรจะมีต้นเหตุที่แท้จริงเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการหามาตรการลดความเสี่ยงในภายหลังได้แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
          1. ปัจจัยเสี่ยงภายนอก คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมการเกิดได้โดยองค์กรเอง เช่น เศรษฐกิจ / สังคม / การเมือง / กฎหมาย  คู่แข่ง เทคโนโลยี  ภัยธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์องค์กร
          2. ปัจจัยเสี่ยงภายใน คือ ความเสี่ยงที่สามารถควบคุมการเกิดได้โดยองค์กรเอง เช่น วัฒนธรรมองค์กร  นโยบายการบริหารและการจัดการ ความรู้ / ความสามารถทักษะของบุคลากร กระบวนการทำงาน  ข้อมูล / ระบบสารสนเทศเครื่องมืออุปกรณ์ วัฒนธรรมองค์กร  นโยบายการบริหารและการจัดการ  ความรู้ / ความสามารถทักษะของบุคลากร กระบวนการทำงาน  ข้อมูล / ระบบสารสนเทศ  เครื่องมืออุปกรณ์

การดำเนินการการบริหารความเสี่ยง
1. การลด/การควบคุมความเสี่ยง  เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบการทำงานใหม่ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดหรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
2.  กระจายความเสี่ยงหรือการโอนความเสี่ยง เป็นการกระจายถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
3. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง  เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมาก และหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการหรือกิจกรรมนั้นไป
4.  การบริหารความเสี่ยงโดยการยอมรับความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นเมื่อพิจารณาเห็นว่าอาจเกิดความไม่คุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยงนั้นๆ

แผนจัดการความเสี่ยงแบบ 4T’s Strategies
          ทั้งนี้ในการดำเนินการให้พิจารณาถึงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
1. Terminate การหลีกเลี่ยง ความเสี่ยง
2. Transfer การกระจาย/ โอนความเสี่ยง
3. Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง
4. Take การยอมรับความเสี่ยง
          
ปัจจัยความเสี่ยงและแนวทางแก้ไขในสถานศึกษา
          จากข้อค้นพบในการวิจัยเรื่องการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัจจัยความเสี่ยง 5 ปัจจัยคือ
1. ด้านการเรียนการสอน
          แก่ความเสี่ยงในด้านการวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร ตำราเอกสาร คุณภาพวิทยานิพนธ์ การคัดเลือกนิสิต
          แนวทางแก้ไข  ปัจจัยความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนพบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการถ่ายโอนความเสี่ยง  การขาดเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบงานธุรการโดยเฉพาะเป็นความเสี่ยงอันดับแรกที่จะต้องนำไปวางแผนปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงก่อน รองลงมาคือครูที่มีความรู้ความสามารถลาออก สถานศึกษาการขาดบุคลากรฝ่ายสนับสนุน (non-teaching staff) ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นับว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดแก้ไข เนื่องจากคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนในประเทศโดยรวมจากการประเมินผลจากสำนักต่าง ชี้ให้เห็นว่าคุณภาพการศึกษายังอยู่ในลำดับกลาง ไปท้าย ในระบบ ranking แม้ว่าเราจะดำเนินการปฏิรูปครูด้วยระบบต่าง ทั้งการผลิตครู การพัฒนาครู การกำหนดมาตรฐานด้านครูและการให้รางวัลตอบแทนก็ตามแต่การปฏิบัติจริงของครูในโรงเรียนต่าง จะต้องทำงานในส่วนงาน 2 ส่วนคือส่วนงานสนับสนุนและส่วนงานสอนครูต้องทำเองทั้งหมดทุกภารกิจพูดง่ายๆก็คือครูจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการในเวลาเดียวกันกับเป็นผู้สอนทำให้ไม่มีเวลาในการออกแบบการสอนเตรียมการสอน พัฒนาเด็กและบริการวิชาการแก่เด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนขนาดกลางและเล็กเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนค่อนข้างมากที่รัฐบาลจะต้องจัดหาคนไปทำงานด้านการสนับสนุนให้กับโรงเรียนทุกแห่ง สำหรับความเสี่ยงในเรื่องของการกำกับและติดตามการวัดและประเมินผล และความเครียดในการปฏิบัติงานถึงแม้ว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยก็ตามแต่มีหลายประเด็นที่มีระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและระดับผลกระทบอยู่ในระดับค่อนข้างมากซึ่งในการบริหารความเสี่ยงจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการก่อนประเด็นอื่น คือการลาออกกลางคันของนักเรียนอันเนื่องมาจากการย้ายติดตามครอบครัว การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ ความเครียดในการปฏิบัติงาน
อันเนื่องมาจากเคยประสบปัญหาความยุ่งยากเกี่ยวกับภาระงานนอกเหนือจากงานสอน ความเครียดที่เกี่ยวกับ
ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้ในการทำงานและความเครียดที่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของครูกับผู้บริหาร
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน 
          ซึ่งครอบคลุมถึงความปลอดภัยของเงินสดและทรัพย์สิน การทุจริตรายงานการเงิน การขาดงบประมาณ การใช้จ่ายเงินกับผลที่ได้รับ  ความเสี่ยงด้านบัญชีและการตรวจสอบ ข้อตกลง สัญญา การโกง การหลอกลวงการบริจาคเงินในทางที่ผิด การขโมย ยักยอกและความเสี่ยงเกี่ยวกับความสิ้นเปลือง
การสูญเสียรายได้ การมีรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การทุจริตรายงาน ทางการเงิน การบันทึกบัญชีผิดพลาด ความปลอดภัยของเงินสด
          แนวทางแก้ไข ปัจจัยความเสี่ยงด้านการเงินพบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหา
มาตรการในการป้องกันความเสี่ยง การคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ลุกลามไปสู่สถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐมีความสลับซับซ้อนและยากแก่การตรวจสอบเช่นการเรียกการรับหรือยอมรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ การเบียดบังยักยอกหรือนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ส่วนตัวโดยทุจริต การเบิกจ่ายเงินงบประมาณไม่โปร่งใส การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณไม่โปร่งใส การดำเนินการจัดซื้อจัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและมีจ้างไม่โปร่งใส การคอรัปชั่นยังมีปรากฏในสังคมไทยและในความซับซ้อนยากแก่การตรวจสอบ เนื่องจากวัฒนธรรมของคนไทยและข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดโครงสร้างสถานศึกษาไม่สอดคล้องต่อภารกิจที่เปลี่ยนไปสู่การกระจายอำนาจ
การบริหารจัดการความเสี่ยงในลำดับต้น คือความเสี่ยงทางด้านบัญชี/ความสำคัญของผู้ตรวจสอบบัญชี การบริจาคทรัพย์การปลอมแปลง ข้อตกลง รายงาน เอกสารหลักฐาน การโกง การหลอกลวง การฉ้อฉล การเปิดเผยข้อมูลเอกสารหลักฐานที่ไม่ เหมาะสมทางการเงิน การกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการได้มาซึ่งของสมนาคุณการกระทำที่ไม่เหมาะสมในการบรรจุ การปฏิบัติของผู้ทำสัญญา การไม่เปิดเผยรายงานตามข้อเรียกร้องการโต้ตอบกับสหพันธ์ทางการเงิน การขโมย การยักยอก การสูญเสีย การสิ้นเปลือง การใช้ในทางที่ผิดหรือความไม่เหมาะสมของแหล่งที่มา
          ความเสี่ยงที่ควรพิจารณาในลำดับต้น คือความเสี่ยงที่เกิดจากการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน งบประมาณถูกตัด งบประมาณที่ได้รับไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้การจัดสรรไม่พอเพียง

3. ด้านความมั่นใจทางการศึกษา
          ประกอบด้วย ความสามารถในการดูแลนักเรียนในโรงเรียน การแลกเปลี่ยนในการให้บริการทางการศึกษาและการมอบหมายงานในกิจกรรมโครงการต่างๆ
          แนวทางแก้ไข ปัจจัยความเสี่ยงด้านความมั่นใจทางการศึกษาพบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการ
ควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของภาคีคือ ชุมชน ผู้ปกครอง
และผู้ประกอบการ ความเสี่ยงเรื่องของการฟ้องร้องต่าง ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและข้อหาในการละเมิดข้อตกลงกับนักศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าตกใจ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรมีความรอบคอบ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงให้มากยิ่งขึ้น

4. ด้านสิ่งแวดล้อม
          ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศภายในและภายนอก ความเสี่ยงของน้ำ ภัยพิบัติ
ธรรมชาติที่เกิดจากพายุ ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากแผ่นดินไหว ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากอุทกภัย
          แนวทางแก้ไข  ปัจจัยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการถ่ายโอนความเสี่ยง  ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ซึ่งนักเรียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี น่าสนุกและเพลิดเพลินใจและควรมีข้อตกลงทางวิชาการระหว่างนักเรียนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงด้วย ผลการวิจัยดังกล่าวมีความสำคัญต่อบทบาทของครูในการสร้างบรรยากาศเช่นเดียวกัน

5. ด้านการบริหารความปลอดภัย  ได้แก่ ความเสี่ยงในการผิดระเบียบของนักเรียนในสถานศึกษา
          แนวทางแก้ไข ปัจจัยความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย พบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้ปกครอง
บุคลากรในสถานศึกษา ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง บริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันคอรัปชั่นในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐซึ่งพฤติกรรมการคอรัปชั่นได้กล่าวถึงการใช้เอกสารปลอม การใช้เวลาราชการไปหาประโยชน์แก่ตนเอง การออกคำสั่งสถานศึกษาที่ขัดต่อระเบียบกฎหมาย การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ การพิจารณาความดีความชอบขัดต่อหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนด การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (compliance risk) ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้หรือกฎระเบียบหรือกฎหมายที่มีอยู่ไม่เหมาะสม หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานเป็นลำดับต้น ที่จะต้องบริหารจัดการความเสี่ยงต่อไป


แนวทางการดำเนินงาน
          ในการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 17 โรงเรียนต้องดำเนินการและทราบว่า โรงเรียน มีความเสี่ยง หรือ เหตุการณ์เสี่ยงอะไรบ้าง  ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามนโยบาย และเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
      
                โอกาส(ความถี่ของการเกิดเหตุการณ์) x ผลกระทบ(ความรุนแรง/ความเสียหายทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน)
                 

                  เพื่อหาความสำคัญของความเสี่ยงว่าอยู่ในระดับใด (สูงมาก , สูง , ปานกลาง , ต่ำ) และ ให้นำความเสี่ยงที่มีระดับความสำคัญมาก   (สูงมาก , สูง , ปานกลาง )         มาดำเนินการบริหารความเสี่ยงตามลำดับความเสี่ยง
ประโยชน์ของการจัดทำแผนบริหารความสี่ยง
 1.  พันธกิจหลัก  ด้านการจัดการเรียนการสอน
ความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง
มาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยง
1.  หลักสูตรไม่ได้รับการพัฒนา
     1)  การประเมินหลักสูตรไม่สมบูรณ์
     2)  ข้อมูลในหลักสูตรไม่สมบูรณ์

1)  มีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาอย่างต่อเนื่อง
2)  วางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อ
      การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็น
      ศูนย์กลาง
2.  ขาดการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
     อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง
     1)  ครู  นักเรียน  ขาดทักษะในการใช้สื่อ 
IT

     2)  ครูนำผลงานการวิจัยในชั้นเรียน  มาใช้ใน
          การจัดการเรียนการสอนน้อยมาก


1)  กำหนดครูและนักเรียนใช้สื่อ 
IT  เป็นส่วนหนึ่ง
      ของการจัดการเรียนการสอน
2)  การจัดอบรม  เพื่อให้ความสำคัญกับการวิจัยใน
     ชั้นเรียน
3.  ขาดแคลนตำราและเอกสารอ้างอิง
      1)  ห้องสมุดขาดแคลนหนังสือ  ที่จะเอามาใช้
            ในการพัฒนาการเรียนการสอน
      2)  ครูและนักเรียนขาดแรงจูงใจในการ
           ค้นคว้าและเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ

1)  เพิ่มมาตรการและให้ความสำคัญกับการอ่านให้
     มากขึ้น  เช่น  โครงการรักการอ่าน
2)  กำหนดสิ่งจูงใจ  ล่อใจให้ครูและนักเรียนรักการ
     อ่าน  รักการศึกษาค้นคว้า  เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
4.  คุณภาพข้องห้องเรียนและอุปกรณ์การจัดการ
     เรียนการสอนไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้
     1)  ห้องเรียนไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการ
           สอน  การสอบหรือการทำกิจกรรม

     2)  คอมพิวเตอร์ล้าสมัย  ขาดการปรับปรุง
          พัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งาน


1)  การปรับปรุงห้องเรียนให้น่าเรียนรู้ เช่นการจัดมุม
     ต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
      หรือมุมแสดงผลงานของนักเรียน
2)  ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีให้
      เป็นปัจจุบัน  เพียงพอกับการใช้งาน
5.  ครูมีวุฒิไม่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมา
     1)  การสรรหาบุคลากรมีข้อจำกัด

1)  ให้ความสำคัญกับการส่งครูไปเข้ารับการอบรม
      พัฒนา  เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการ
      สอน
ความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง
มาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยง
1.  จำนวนเงินและแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัย
     เพื่อพัฒนางานการจัดการเรียนการสอนมีน้อย
     เกินไป
     1)  ขาดทักษะในการเขียนโครงการ
     2)  ขาดแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัย



1)  สร้างความร่วมมือ  ร่วมใจระหว่างโรงเรียน
      และชุมชน  เพื่อให้ชุมชนเห็นความสำคัญ
      และให้การสนับสนุน
2.  ครูไม่สนใจเรียนรู้การทำผลงานวิจัยในชั้นเรียน
     1)  ขาดแรงจูงใจในการเขียนบทความ
      2)  ครูมองเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ

1)  สร้างระบบพี่เลี้ยงและให้ความสำคัญกับการ
      วิจัยในชั้นเรียนให้มากขึ้น
3.  ขาดการยอมรับความเชี่ยวชาญ
    1)  ขาดการสร้างองค์ความรู้
    2)  ขาดการติดตามข้อมูล
    3)  ครูขาดประสบการณ์ในการทำวิจัย

1)  เพิ่มมาตรการในการสร้างแรงจูงใจ  เน้นการ
      ทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น
ความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง
มาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยง
1.  การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง
     1)  การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ยังไม่เต็มที่

1)  ทำการประชาสัมพันธ์ทั้งในเชิงรุกและในเชิง
     รับ  ผ่านสื่อที่เจาะกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
1.  แผนกลยุทธ์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และ
    วัตถุประสงค์ของโรงเรียนหรือการดำเนินงาน
    ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ของ
    โรงเรียนหรือแผนปฏิบัติการขาดความชัดเจน
    1)  การกระจายแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติ
         การไม่ครบถ้วน
    2)  ไม่มีการกำกับ  ติดตาม  ตรวจสอบและ
         ประเมินผลการปฏิบัติงาน
    3)  การมอบหมายงานไม่ตรงกับขอบข่ายของ
         งานที่รับผิดชอบ
    4)  แผนกลยุทธ์ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทาง
         ปฏิบัติ เนื่องจากวางแผนไว้สูงเกินไป




1)  จัดทำแผนกลยุทธ์ใหม่  ให้การพิจารณาความดี
     ความชอบผูกติดกับผลงานที่ได้ระบุไว้ในแผน
2)  แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลการ
     ปฏิบัติงานตามแผน เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา
     แผนให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์
3)  พัฒนาตัวชี้วัดตามระดับความสำเร็จที่ระบุ
2.  การรับ จ่ายเงิน
      1)  รับเงินโดยไม่บันทึกในบัญชีหรือนำเงินไป
           ใช่ก่อน
      2)  จ่ายเงินโดยไม่ได้รับวัสดุ
      3)  จ่ายเงินซ้ำในรายการเดียวกัน

1)  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน  ไม่ซ้ำซ้อน
     กัน
      -  เจ้าหน้าที่พัสดุ
      -  เจ้าหน้าที่การเงิน
      -  เจ้าหน้าที่บัญชี
          อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะมีนโยบายแจ้งให้สถานศึกษาปฏิบัติการจัดการบริหารความเสี่ยงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบว่ามีการบริหารความเสี่ยงเพียงบางส่วน บางสถานศึกษาไม่ได้จัดทำการบริหารความเสี่ยงและบางสถานศึกษามีการจัดทำการบริหารความเสี่ยงแต่ไม่ครอบคลุมภารกิจของสถานศึกษาทั้งหมดเช่น บริหารความเสี่ยงเฉพาะด้านงบประมาณโดยพบว่ามีความเสี่ยงในเรื่องของการทุจริตของเจ้าหน้าที่การเงิน การเรียกเก็บเงินไม่เป็นไปตามระเบียบสถานศึกษา การจ่ายเงินโดยไม่ได้รับวัสดุ การจ่ายเงินซ้ำในรายการเดียวกัน การรับเงินโดยไม่บันทึกลงบัญชีหรือการนำเงินสดไปจ่ายก่อนและขาดการตรวจสอบการรับจ่ายเงิน เป็นต้น




ขั้นตอนในการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง 
          1. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมี ผู้อำนวยการโรงเรียน  เป็นประธานกรรมการ  ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในภารกิจหลักของโรงเรียน และผู้แทนจากทุกกลุ่มงานต่างๆ ในโรงเรียน ร่วมเป็นคณะทำงาน  ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำงาน สามารถมองเห็นความเสี่ยงที่แท้จริงของโรงเรียน ครอบคลุมในทุกด้าน  และสามารถขับเคลื่อนแผนบริหารความเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายได้
          2. สรุปแผนบริหารความเสี่ยงฯ ของโรงเรียน ในปีงบประมาณก่อนโดยระบุ ข้อดี ข้อเสีย ปัญหา อุปสรรค รวมถึงผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงของทุกประเด็นความเสี่ยงที่จัดทำในปีงบประมาณก่อนตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี  โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงฯ
          3. คณะกรรมการที่แต่งตั้งตามข้อ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีอำนาจทางการบริหารร่วมกันระดมสมองในการ ระบุความเสี่ยง หรือ ปัจจัยเสี่ยง ที่เป็นความเสี่ยงที่แท้จริงของโรงเรียน และเป็นความเสี่ยงระดับโรงเรียน  โดยดูจาก
                   3.1 ความล้มเหลว ความเสียหาย ที่ส่งผลให้โรงเรียน  ไม่บรรลุตามเป้าหมาย ตามภารกิจหลัก หรือตามกฎหมายจัดตั้งส่วนราชการ
                   3.2 เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ ตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการประจำปี    โดยดูว่าในปีงบประมาณนี้ หน่วยงานมีแผนการดำเนินงานหรือโครงการ อะไรบ้าง  และมีโครงการใด  ที่อาจไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
                   3.3 เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน หรือ นโยบาย เราเรียกว่า  เหตุการณ์เสี่ยง
          4. เมื่อโรงเรียนระบุความเสี่ยงได้แล้ว  ต้องทำการประเมินความเสี่ยงโดยประเมินจาก

          1. สะท้อนปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในโรงเรียน ทำให้บุคลากรในโรงเรียนมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลัก ตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่อาจส่งผลกระทบในเชิงลบ ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมความเสี่ยง ที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกรงเรียน
          2. เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าความเสี่ยงนั้นๆ ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา
          3.  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียน
          4. ทำให้ได้ข้อมูลทีจะช่วยในการตัดสินใจเพื่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในอนาคต
          5.  มีแนวทางการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
         
ข้อแนะนำสำหรับการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา
              1.  ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้วางนโยบาย ในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา
              2. สถานศึกษาควรมีการปรับ (Fine tune) ปรับแก้เมื่อพบว่าวิธีการจัดการกับความเสี่ยงที่เลือกใช้ไปแล้วนั้นไม่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่น
           3.  สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีการบริหารความเสี่ยง เพื่อที่จะสามารถช่วยลดความสูญเสียซึ่งส่งผลต่อการบริหารงานต่างๆ
           4. สถานศึกษาควรมีการติดตามประเมินผลแผนกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นขั้นตอน
           5. สถานศึกษามีการปรับปรุงกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ
           6.  สถานศึกษามีการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานศึกษา
              7. สถานศึกษาควรมีการจัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา
              8. สถานศึกษาควรมีการกำหนดความเสี่ยงและมีมาตรการในการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
           9. การสร้างความรู้สึกในการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา ควรมีการออกเป็นหนังสือ เป็นนโยบายว่าจะทำการบริหารความเสี่ยงเพื่ออะไร มีใครรับผิดชอบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
              10.  สถานศึกษาควรมีข้อมูลของการดำเนินการ ที่สามารถลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในอดีต
              11. บริหารความเสี่ยงขององค์กรหรือ Chief Risk Officer (CRO) เพื่อควบคุมความเสี่ยง ในสถานศึกษา
              12.  สถานศึกษาควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมจากองค์กรต่าง ๆ หรือนักบริหารความเสี่ยงคนอื่น
              13. ผู้บริหารควรจัดให้มีการประชุมร่วมกับตัวแทนของทุกส่วนในสถานศึกษาเพื่อกำหนดความเสี่ยงและการแก้ไขความเสี่ยงในสถานศึกษาร่วมกัน
              14. หากสถานศึกษาไม่มีการสำรวจความเสี่ยง จะทำให้องค์กรสูญเสียผลประโยชน์เป็นมูลค่ามาก

ตัวอย่างความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง
               ตามมาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยงของโรงเรียน ความเสี่ยงและปัจจัย  ตามมาตรการการควบคุมความเสี่ยงเหล่านี้  เป็นเพียงตัวอย่าง  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความเสี่ยงที่แท้จริงของโรงเรียน  ที่คณะทำงานบริหารความเสี่ยงจะต้อง ไปค้นหาความเสี่ยง  ตามขอบข่ายและภารกิจของงานที่ถือปฏิบัติ

2.  พันธกิจหลัก  ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน


3.  พันธกิจหลัก  ด้านวิชาการ


4. พันธกิจหลัก  ด้านการบริการและการสนับสนุน


เกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
          1. มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
          2. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของสถาบัน จากตัวอย่างต่อไปนี้
                   - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคาร สถานที่
                   - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถาบัน
                   - ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
                   - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ
                   - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร
                   - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
          3. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2
          4. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน
          5. มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
          6. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
จึงเห็นได้ว่าการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่สถานศึกษาจะเกิดความเสี่ยงให้ระดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สถานศึกษายอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ ทั้งนี้หากสถานศึกษาไม่ดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมงานในสถานศึกษาก็จะทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุพันธกิจและเป้าหมายของสถานศึกษาได้ และจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่สถานศึกษาจะเกิดความเสี่ยงให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สถานศึกษายอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบโดยคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลักของสถานศึกษาและเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของต้นสังกัดและเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีประสิทธิภาพครอบคลุมปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการศึกษาในปัจจุบัน ผู้วิจัยจึงใช้แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษามาประยุกต์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยที่จะศึกษาถึงปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษาและการพิจารณาเพื่อหาแนวทางในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป

                  


ไม่มีความคิดเห็น: