หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บางนา, บางนา, Thailand
อยากเก่ง

15.8.58

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดหลายสิบปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ 
          เศรษฐกิจพอเพียงชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 
  
กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ   ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในทางพัฒนาประเทศ  ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัฒน์   โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

เป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
มุ่งให้เกิดสมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
          ความพอเพียง   ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง ) พร้อม ๆ กัน  3 คุณลักษณะ คือ ความพอประมาณ (Moderation)  ความมีเหตุผล (Reasonableness)  และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี     (Self-immunity)  ถ้าขาด คุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งไปก็จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นความพอเพียง  ได้แก่
1.1  ความพอประมาณ  หมายถึง ความพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปในมิติต่าง ๆ ของการกระทำ 5 ประการ คือ
-ด้านจิตใจ คือ เริ่มต้นจากตนเองต้องตั้งสติ มีปัญญา มีจิตสำนึกที่ดี มีเมตตา เอื้ออาทร มีความเข้าใจและประนีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้
-ด้านสังคม คือ การสร้างความพอดีในทุกระดับของสังคม โดยเริ่มจากครอบครัว ชุมชนและสังคม ซึ่งต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
-ด้านเศรษฐกิจ คือ ต้องอยู่อย่างพอดี พอมีพอกิน ไม่หรูหรา ฟุ่มเฟือย
-ด้านเทคโนโลยี คือ ควรเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะและความต้องการของประเทศ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเรา
-ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรณรงค์รักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
          1.2  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ซื่อตรงและไม่โลภอย่างมาก
          1.3  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น  โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไขพื้นฐาน  (คุณธรรม นำความรู้) 
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรอบรู้  ความรอบคอบ และความระมัดระวัง  อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน การเสริมสร้างจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต  ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา  และความรอบคอบ 
1.  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อม  เพื่อประกอบการวางแผนและการใช้ความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2.  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี การปฏิบัติในระดับตนเองและในระดับองค์กร

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงและแนวปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ อาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี  เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฏีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฏีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอน เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม

รูปแบบของเศรษฐกิจพอเพียง   มี 2 รูปแบบ คือ
     1.  เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่โลภมาก และไม่เบียดเบียนคนอื่น
2.  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ การแลกเปลี่ยนร่วมมือช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้ส่วนร่วมได้รับประโยชน์ และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมให้เจริญอย่างยั่งยืน


       เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปแบบของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจด้านการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 เป็นการทำการเกษตรที่มีระบบการผลิตที่สามารถเลี้ยงตนเองในระดับที่ประหยัด และสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยเริ่มจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่สระน้ำเพื่อเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ในไร่นาเพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปีส่วนที่  3  เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ และอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหารและยาสำหรับบริโภคในครัวเรือน เหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ส่วนที่ 4 เป็นพื้นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นการรวมพลังของเกษตรกรในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมกันดำเนินการในการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา  โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และเอกชน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 เป็นการประสานเพื่อจัดหาทุนและแหล่งเงินมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ดังนั้น การที่จะเลือกใช้ทฤษฎีใหม่ทั้งทฤษฎีใหม่ขั้นต้น และทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าในการส่งเสริมเกษตรกรให้เป็นรูปธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชุมชน จะต้องมีความเข้าใจและยึดหลักการในการบริหารจัดการที่ดิน และน้ำเพื่อการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่  
          -ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1
          -ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2
          -ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
          1. พิจารณาจากความสามารถในการพึ่งตนเองเป็นหลัก ที่เน้นความสมดุลทั้ง 3 คุณลักษณะ คือ พอประมาณ  มีเหตุมีผล  และมีภูมิคุ้มกัน  มาประกอบการตัดสินใจ ในเรื่องต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ  ระมัดระวัง  พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร  และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  ที่มีองค์ประกอบครอบคลุม ทั้ง 5 ประการ คือ
      -ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง ฝึกตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ปราณีประนอม  และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
      -ด้านสังคม มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี  สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน รู้จักผนึกกำลัง  มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคง แข็งแรง
    -ด้านเศรษฐกิจ ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอดี พอมี พอกิน สมควรตามอัตภาพ และฐานะของตนประกอบอาชีพสุจริต (สัมมาอาชีวะด้วยความขยันหมั่นเพียร อดทนใช้ชีวิตเรียบง่าย โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีรายได้สมดุลกับรายจ่าย รู้จักการใช้จ่ายของตนเองและครอบครัวอย่างมีเหตุผลเท่าที่จำเป็น ประหยัด รู้จัก การเก็บออมเงินและแบ่งปันผู้อื่น
     -ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและภูมินิเวศ  พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม 
-ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ  สามารถเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด  
          2.   พิจารณาความรู้คู่คุณธรรม มีการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติจริง) ในวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ อย่างรอบรู้ รอบคอบ และมีเหตุผลที่จะนำความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาปรับใช้อย่างมีขั้นตอนและระมัดระวังในการปฏิบัติ มีความ ตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเพียรความอดทน และใช้สติปัญญาอย่างชาญฉลาดในการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง
คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ มี 4 ประการคือ
 ประการแรก คือ การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
 ประการที่ 2 คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในสัจจะความดีนั้น
 ประการที่ 3 คือ ความอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
 ประการที่ 4 คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
 คุณธรรม 4 ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศบังเกิดความสุขความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคง ก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์....................

 
 














วิธีการพัฒนาชีวิตโดยเศรษฐกิจพอเพียง 
คนแต่ละคนมีชีวิตแตกต่างกันไปตามแบบแผนของสังคมที่สลับซับซ้อนเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลาแต่ทุกคนก็ยังมีความต้องการที่ประสบความสำเร็จในชีวิตโดยเฉพาะคนไทยที่อยู่
            ในประเทศไทยนั้น ยังมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงชี้แนะและมอบแนวทางในการดำรงชีวิตในทางสายกลางที่สมดุลคือมีความพอประมาณมีเหตุมีผลมีภูมิคุ้มกันภายใต้เงื่อนไขของความรู้และคุณธรรม ที่เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียง ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องทั้งเศรษฐกิจ สังคมการเมืองการปกครองและอื่นๆโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่แต่ละคนมีระดับความต้องการไม่เท่ากันเพราะแต่ละคนย่อมมีโอกาสของการพัฒนาการที่แตกต่างออกไป  เช่น  ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ การสร้างรายได้ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เป็นต้น ในขณะเดียวกันด้านสังคมเริ่มต้นจากการดำรงชีวิตจะมองถึงความสามารถในการพึ่งตนเอง ความร่วมมือของคนในครอบครัวและคนรอบข้าง สมาชิกในสังคมยอมรับ มี ความมั่นคงในการดำรงชีวิต เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนาชีวิตควรดำเนินการ ดังนี้
            1.  ค้นหาความต้องการของตนเองให้พบว่า  มีความต้องการอะไร  มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างไร เช่น ต้องการมีชีวิตที่มีอนาคตก้าวหน้า มีความเป็นอิสระ มีเวลาเพื่อครอบครัวและสังคม มีทรัพย์สินเพียงพอ มีความสุข หลุดพ้นจากความยากลำบาก
            2. วิเคราะห์ข้อมูลของตนเองและครอบครัว ซึ่งจะทำให้รู้สถานภาพ   รู้สาเหตุของปัญหา   รู้ปัจจัยต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องรู้ผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมเทคโนโลยีและ  ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม  
      2.1  ศักยภาพของตนเอง เช่น ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ (ทักษะ) ชื่อเสียง ประสบการณ์  ความมั่นคง ความก้าวหน้า สภาพทางการเงิน การสร้างรายได้การใช้จ่าย การออม คุณธรรมและศีลธรรม
      2.2 ศักยภาพของครอบครัว เช่น วิถีการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี คุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว ฐานะทางสังคม ฐานะทางการเงิน ที่เป็นทรัพย์สินและหนี้สินของครัวเรือน รายได้ รายจ่าย ของครัวเรือน
          3. วางแผนการดำเนินชีวิต
       3.1 พัฒนาตนเอง ให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง (ใฝ่เรียนรู้) สร้างวินัยกับตนเอง โดยเฉพาะวินัยทางการเงิน
                 3.2  สร้างนิสัยที่มีความคิดก้าวหน้ามุ่งมั่นในเป้าหมายชีวิต หมั่นพิจารณาความคิดตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นระบบโดยใช้ความรู้ (ที่รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และครอบครัว
3.3  หมั่นบริหารจิตใจให้มีความซื่อสัตย์ สุจริต รักชาติ เสียสละ สามัคคี เที่ยงธรรม ศีลธรรม
3.4 ควบคุมจิตใจให้ตนเอง ประพฤติในสิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์ ความเจริญรุ่งเรือง
3.5 พัฒนาจิตใจ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข กิเลส ตัณหา ความโกรธ ความหลง
3.6 เสริมสร้างและฟื้นฟูความรู้และคุณธรรมของตนเองและครอบครัว เช่น เข้ารับการฝึกอบรม ฝึกทักษะ ในวิชาการต่าง ๆ หรือวิชาชีพ หมั่นตรวจสอบและแก้ไข ข้อบกพร่องอย่างสม่ำเสมอ
3.7 ปรับทัศนคติในเชิงบวก และมีความเป็นไปได้
4. จดบันทึกและทำบัญชีรับ จ่าย
5. สรุปผลการพัฒนาตนเองและครอบครัว โดยพิจารณาจาก
  5.1 ร่างกายมีสุขภาพ สมบูรณ์ แข็งแรง
  5.2  อารมณ์ต้องไม่เครียด มีเหตุมีผล มีความเชื่อมั่น มีระบบคิดเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน มีแรงจูงใจ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ท้อถอย หรือหมดกำลังใจ เมื่อประสบปัญหา  ในชีวิต
 5.3  สิ่งเหล่านี้ได้ลด ละ เลิก ได้แก่ รถป้ายแดง เงินพลาสติก โทรศัพท์มือถือ สถานเริงรมย์ เหล้า บุหรี่ การพนัน 

แนวทางการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
จากหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข   ได้แก่  ความพอประมาณ   ความมีเหตุผล   การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
และ เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ และงื่อนไขคุณธรรม สามารถนำเข้าสู่สถานศึกษา ได้ 3 ทางหลัก คือ
1.  การบริหารสถานศึกษา ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่การเรียนรู้อย่างพอเพียง การสร้งวัฒนธรรมองค์กร การใช้ทัพยากรอย่างพอเพียง การปลูกฝังให้เป็นวิถีชีวิต ชุมชนสัมพันธ์
2.  การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน  ได้แก่ กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นปี (รายวิชาพื้นฐาน) การจัดทำหน่วย  แผนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทำสื่อ/แหล่งเรียนรู้ การจัดทำเครื่องมือวัด ประเมินผล เกณฑ์การผ่านระดับชั้น
3.  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว การให้บริการแนะแนว  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมนักเรียน ได้แก่ ลูกเสือ เนตรนารี  ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์    โครงการ  ชุมนุม  ชมรม
กิจกรรมเพื่อสังคม  จิตสาธารณะ  เน้นการมีส่วนร่วม การเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน

แนวทางการนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในโรงเรียน
1. การบริหารจัดการ   สิ่งที่ต้องทำ คือ กำหนดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบาย วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ภารกิจ  แผนปฏิบัติการ งานวิชาการ งบประมาณ บุคคล  บริหารทั่วไป  ชุมชนสัมพันธ์ เน้นการบริหารทรัพยากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  การมีส่วนรวม รู้รักสามัคคี
2. หลักสูตรการเรียนการสอน ต้องสอนวิชา เศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐาน ส3.1  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้   จัดทำรายวิชาเพิ่มมเติม/หลักสูตรท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการ  โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  วิเคาระห์เพื่อกำหนดรายวิชา การเรียนการสอน  จัดทำหน่วย แผนการเรียนรู้ หรือสื่อการเรียนรู้ ที่บูรณาการของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสาระการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ และแหล่งเรียนรู้   สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยพัฒนาและจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในระยะแรก ได้เริ่มจากการไปค้นหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ และการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือพอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชนที่ตั้ง เช่น เด็กช่วงชั้นที่ 2 ทำสหกรณ์ได้ เด็กช่วงชั้นที่ 4 ดูแลสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ สอนให้ผู้เรียน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม พัฒนาคนให้เขารู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคมและช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และตัวกิจกรรมเองก็ต้องยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ ถึงจะเปลี่ยนผู้อำนวยการ แต่กิจกรรมก็ยังดำเนินอยู่ อย่างนี้เรียกว่า            มีภูมิคุ้มกัน
การค้นหาตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ก็เพื่อให้มีตัวอย่างรูปธรรม ในการสร้างความเข้าใจภายในวงการศึกษาว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่าอย่างไร และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง หลังจากนั้น ก็ส่งเสริมให้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้     เข้าไปในการเรียนรู้สาระต่างๆ บูรณาการเข้ากับทุกสาระเรียนรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนการคำนวณที่มีความหมายในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง หรือบูรณาการเข้ากับสาระภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา การงานอาชีพ เทคโนโลยีต่างๆ ได้หมด นอกเหนือจากการสอนในสาระหลักคือในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เท่านั้น
สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ให้ทุกช่วงชั้นเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ได้ แต่ถ้ามาตรฐานเรียนรู้ของทุกช่วงชั้นเหมือนกันหมดก็จะมีปัญหาทางปฏิบัติ จึงต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในการเรียนการสอนของแต่ละช่วงชั้น และแต่ละชั้นปี ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้เด็กพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น ประถม 1 ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน จัดหนังสือไปเรียนเอง แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน กินอาหารให้หมดจาน  ประถม 2 วิเคราะห์รายจ่ายของครอบครัว จะมีเป็นตารางกรอกค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัว คุณแม่ซื้ออะไรบ้าง คุณพ่อซื้ออะไรบ้าง เด็กจะได้รู้พ่อแม่หาเงินมายากแค่ไหน เช่น ยาสีฟันหลอดละ 46 บาท จะต้องไม่เอามาบีบเล่น จะต้องสอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัด ครอบครัวมีรายได้และรายจ่ายเท่าไร เด็กจะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง มีหลายโรงเรียนทำแล้ว ประถม 3 สอนให้รู้จักช่วยเหลือครอบครัวอย่างพอเพียง และรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น มีส่วนร่วมสร้างครอบครัวพอเพียง
ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน สามารถวิเคราะห์วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียน และชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ          ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม    ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน   และเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง 
ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชน และในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด
ช่วงชั้นที่ 4 เตรียมคนให้เป็นคนที่ดีต่อประเทศชาติสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้     ต้องเริ่มเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศ และการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น  การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สภาพปัญหาด้านสังคมเป็นอย่างไร แตกแยกหรือสามัคคี เป็นต้น

     3.  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลักษณะของกิจกรรม ต่อยอดหรือพัฒนากิจกรรมที่อดคล้องกับภูมิสังคม  บริบท ดำเนินการหลักโดยผู้เรียนด้วยความสมัครใจ โดยมีครูคอยสนับสนุน ผู้เรียนใช้หลักคิด หลักปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักวิชาการอย่างสมเหตุสมผล มีการวางแผนอย่างรอบคอบ คำนึงถึงความี่ยงต่างๆ  ส่งเสริมการเรียนรู้และคุณธรรม
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น   มีวินัยในการใช้จ่าย ประหยัดอดออม พึ่งตนเองในการผลิต  หรือสร้างรายได้
เห็นค่าการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยเหลือสังคม  ชุมชน รักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีไทย ส่งเสริมการปฏิบัติตามคำสอยของศาสนา ร่วมสร้างความสามัคคี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          สถานศึกษาควรมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกฝัง เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
          1. มีความรู้ ความเข้าใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และตระหนักในความสำคัญ ของการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
                  1.1 มีความรู้ ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจทั่วไป
                  1.2 มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                  1.3 เห็นประโยชน์ และตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการใช้แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนากลุ่ม และพัฒนาสังคม
          2. มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
              2.1มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการพัฒนาอาชีพ เช่น การเกษตร การผลิตและจำหน่ายสินค้า การดำเนินธุรกิจ การใช้จ่ายและการออม ฯลฯ
              2.2 ใช้และพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ได้ประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน
              2.3 สืบสานและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
              2.4 รักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
          3. ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
              3.1 ปฏิบัติตนให้มีความพอประมาณ รู้จักการประมาณตน รู้จักศักยภาพของตนที่มีอยู่
              3.2 ปฏิบัติตนอย่างมีเหตุผล ปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ บนพื้นฐานของความมีสติ ปัญญา ยึดทางสายกลางในการปฏิบัติ
              3.3 มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
                    3.4  มีความรอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง  สามารถคิดวิเคราะห์และปฏิบัติด้วย ความรอบคอบ ระมัดระวัง
              3.5 ปฏิบัติตนและดำเนินวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน เพียรพยายาม แบ่งปัน มีสติ ปัญญา มีวินัย พึ่งตนเอง แบ่งปัน เอื้ออาทร รับผิดชอบและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

เป้าหมายนักเรียนอยู่อย่างพอเพียงมีสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านวัฒนธรรม  ได้แก่ สร้างความภูมิใจ   เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม  ค่านิยม  เอกลักษณ์  และความเป็นไทย
2. ด้านวัตถุ ได้แก่ การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน รู้จักใช้วัตถุ สิ่งของ  ทรัพยากรย่างพอเพียง
3. ด้านสังคม ได้แก่ ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน  ไม่เบียดเบียน
4. ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม


เป้าหมายนักเรียนอยู่อย่างพอเพียง
มีสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง
   
ภาพความสำเร็จ
1.  สถานศึกษา  นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา จัดการศึกษาและดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน  สังคม 
2.  ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.  นักเรียนมีความรู้  ทักษะ ปฏิบัติตน และดำเนินชีวิต ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่อย่างพอเพียง”
4.  ผู้ปกครออง ชุมชน ดำเนินชีวิต และมีการพัฒนาตรมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


แนวทางในการพัฒนาผู้เรียนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
          1. การพัฒนาหลักสูตร มีแนวทางดำเนินการดังนี้
               สถานศึกษาควรมีการพัฒนาหรือบูรณาการเนื้อหาสาระของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในหลักสูตรสถานศึกษา  ตามขั้นตอนดังนี้
              1.1สถานศึกษานำคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติม วิสัยทัศน์ เป้าหมายและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา
              1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของหลักสูตรสถานศึกษาที่ปรับปรุงหรือเพิ่มเติม
              1.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุง เพิ่มเติมหรือจัดทำสาระการเรียนรู้ หน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นตามข้อ

          2. การจัดการเรียนการสอน 
              สถานศึกษาควรจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตรอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในวิถีชีวิตประจำวัน โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
                    2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การแก้ปัญหา ฯลฯ ที่เริ่มจากชีวิตประจำวัน และเชื่อมโยงสู่ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลก
                    2.2 จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการทดลอง การปฏิบัติจริงทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ทั้งในรูปของการจัดทำโครงการ โครงงาน และอื่น ๆ ทั้งการศึกษารายบุคคล และเป็นกลุ่ม
                    2.3 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
1) ความรู้ (Knowledge)            
2) ทักษะกระบวนการ (Process)
3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute)

การเขียนแผนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 ห่วง 2 เงื่อนไข) ในการจัดกาเรียนรู้ทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์  “อยู่อย่างพอเพียง”
2.  ยึดสาระสังคมเป็นหลัก  เพราะสาระสังคม จะมีหัวข้อและเนื้อหาชัดเจนที่สอดแทรก ความคิด คุณค่า  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ลงไปได้
3.  ยุทธศาสตร์การสอนของครู  สอดแทรกคุณธรรม มีวินัย ความรับผิดชอบ การคำนึงถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่น สังคมรอบตัว สภาพแวดล้อมทางวัตถุและธรรมชาติ ความภูมิใจในวัฒนธรรมไทย
เน้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ปัญหาต่างไ ที่อยู่รอบตัว อย่างเป็นเหตุเป็นผล รอบคอบ โดยครูค่อยชักจูง ให้คิดแบบโยนิโสมนสิการและสร้างบรรยากาศให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แนะนำ ท้วงติงกันด้วยความจริงใจ

3. การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา 
              สถานศึกษาควรจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้  กระบวนการเรียนรู้  ปลูกฝัง หล่อหลอมคุณลักษณะอันพึงประสงค์  และเอื้อต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา  โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
              3.1 จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เน้นความร่มรื่น ประโยชน์ใช้สอย เป็นแหล่งเรียนรู้ และอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมของท้องถิ่น และภูมิปัญญาไท    
              3.2 กำหนดระเบียบ ธรรมเนียมปฏิบัติในสถานศึกษา ที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย เคารพธรรมเนียมปฏิบัติ กฎกติกาของสังคมส่วนรวม เช่น การเข้าคิว การรับประทานอาหาร การแต่งกาย การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ฯลฯ
              3.3 ส่งเสริมและพัฒนาบรรยากาศด้านคุณธรรม เช่น การทำบุญ การบริจาค การปฏิบัติกิจทางศาสนา การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา การยกย่องส่งเสริมผู้กระทำความดี การส่งเสริมการแบ่งปัน การช่วยเหลือกันและกัน ฯลฯ
              3.4 ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ และเผยแพร่ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการแข่งขัน การหาความรู้โดยสื่อเทคโนโลยีและอื่น ๆ
              3.5 ส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของผู้บริหาร ครู และบุคลากรในสถานศึกษา
              3.6 จัดโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตนและการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


4. การจัดระบบบริหารจัดการของสถานศึกษา
              สถานศึกษาควรมีการจัดระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เอื้อต่อการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางดังนี้
              4.1 ทบทวน ปรับปรุง พัฒนา โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการให้สอดคล้องหรือรองรับการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
              4.2 กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรม และการปรับปรุงเพิ่มเติมหรือจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้ครอบคลุมการพัฒนาการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา มีการดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
              4.3 พัฒนาบุคลากร ทั้งผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพร้อมในการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการที่เปลี่ยนแปลง และการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งดำเนินชีวิตตามแนวปรัญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               4.4 จัดระบบการนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและกระบวนการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาตามแนวทางในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา

5. การให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
              สถานศึกษาควรให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในขั้นตอนสำคัญทุกขั้นตอน ตามแนวทางดังนี้   
              5.1 ร่วมกำหนดแนวนโยบาย และการวางแผน
              5.2 ร่วมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
              5.3 ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดสภาพและบรรยากาศภายในสถานศึกษา
              5.4 ส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติตามแนวปรัญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา      ที่บ้าน และสถานที่อื่นๆ
              5.5 ร่วมติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

6. การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
              สถานศึกษาควรจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้
                   6.1 ติดตามและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยพิจารณาจาก
                      6.1.1 ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านเศรษฐกิจพอเพียง
                      6.1.2 ผลงานและการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน
                      6.1.3 การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
                      6.1.4 ผลการประเมินโดยผู้ประเมินภายนอก หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน
               6.2 ติดตามและประเมินความเหมาะสมของการดำเนินการในกระบวนการ ขั้นตอน และกิจกรรมการดำเนินการในด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม การจัดระบบบริหารจัดการ การให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียนอันพึงประสงค์
               6.3 จัดให้ระบบการรายงานผลการดำเนินการเป็นระยะ ๆ ทั้งการรายงานภายในสถานศึกษา การรายงานต่อสาธารณชน และการรายงานหน่วยงานต้นสังกัดตามลำดับ






การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง

ความหมายของความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง
ความหมายของความเสี่ยง
           ความหมายที่ 1 ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่ถึงประสงค์ที่จะส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดความเสียหายและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ความหมายที่เหมือนกันคือความไม่แน่นอนที่อาจนำไปสู่ความสูญเสีย
           ความหมายที่ 2  ความเสี่ยง (Risk)  คือ เหตุการณ์ หรือ การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบ  หรือ  สร้างความเสียหาย ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน หรือ  ก่อให้เกิดความล้มเหลว หรือ ลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย 
           ความหมายที่ 3  ความเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จ ภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่น การจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรม ที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
           ดังนั้น ความเสี่ยง (Risk) จึงหมายถึงโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ อันส่งผลกระทบที่ให้ดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ของสถานศึกษา

ความหมายของการบริหารความเสี่ยง
ความหมายที่ 1 การบริหารความเสี่ยง (Risk management) หมายถึง การจัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ  และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident)
ความหมายที่ 2 การบริหารความเสี่ยง (Risk management) หมายถึง การบริหารจัดการ เพื่อป้องกัน ควบคุม ลดปัญหา  ความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้
         ดังนั้น การบริหารความเสี่ยง  (Risk management) จึงหมายถึง  การจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถควบคุมได้ และไม่เกิดผลเสีย

ความเป็นมาของการบริหารความเสี่ยง
          การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหลายเหตุการณ์เป็นภาวะที่คาดเดาได้ยาก เนื่องจากสาเหตุปัจจัยหลายประการ เช่นความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการคิดค้นและผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ของมนุษย์ กระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบพลเมืองโลกอย่างไรพรมแดน และภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบนโลก อันเนื่องจากการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไร้ขีดจำกัด ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบในการบริหารจัดการขององค์กร ทั้งในผลบวกและผลลบซึ่งผลลบที่เกิดขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโอกาสในการดำเนินภารกิจขององค์กร ให้บรรลุผลสัมภาษณ์ตามเป้าประสงค์หรือตามแผนที่จะพัฒนาองค์กรได้
         สถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางด้านเศรษฐกิจ ที่กลายเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหา ความรุนแรง การเอารัดเอาเปรียบ ส่วนทางด้านสังคม เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ด้านคุณธรรม จริยธรรมกลับเสื่อมถอยลง มีการแพร่กระจายของสารเสพติด สภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นภัยคุกคามที่มีผลต่อความปลอดภัยของเด็กและเยาวชน การดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชนในปัจจุบันจึงอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิตและขาดการดูแลอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งต้องคุ้มครอง พัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาค ทั้งหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบัน
การบริหารงานขององค์กรทุกประเภททั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน ทุกองค์กรจะตั้งวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจน เช่น เพื่อคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างผลกำไร เพื่อการให้บริการประชาชน เป็นต้น ไม่ว่าจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้เช่นใดก็ตามการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นมักจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามที่ตั้งไว้เพราะองค์กรมักจะประสบกับความเสี่ยงอยู่เสมอ ทั้งนี้อาจปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียต่อทรัพย์สิน สูญเสีย โอกาสเสียเวลาดำเนินงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทรัพยากรและพลังงานรวมไปถึงการส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของทั้งบุคลากรและผู้รับบริการอีกด้วย  นอกจากนี้ยังพบความเสี่ยงจากสื่อต่าง ๆ มีการพาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับเรื่องเสี่ยงเจ็บ - เสียชีวิต ชีวิตลูกในรั้วโรงเรียน ล้วนเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น
          ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานครได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและหน่วยงานอีกหลายแห่ง โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพได้ดำเนินการโรงเรียนปลอดภัย 20 แห่งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในการพัฒนากระบวนการสร้างความปลอดภัย 6 ด้านด้วยกันคือ สิ่งแวดล้อม ระบบคุ้มครองการเดินทางไปกลับโรงเรียนการจัดกิจกรรมการศึกษา การสอนหลักสูตรความปลอดภัยและแผนฉุกเฉินในโรงเรียนและปัญหาการศึกษาคือการขาบุคลากรฝ่ายสนับสนุนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูมีวุฒิไม่ตรงกับวิชาที่สอนตามผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เลือกระดับความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงเป็นหัวข้อการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ 17 ที่หน่วยงานในสังกัดต้องดำเนินการ และได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายในที่กำหนดให้ส่วนราชการต้องมีการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน จึงเห็นได้ว่าการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่สถานศึกษาจะเกิดความเสี่ยงให้ระดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สถานศึกษายอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ

ลักษณะของความเสี่ยง
          1. ความเสี่ยงด้านการเงิน หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ค่าใช้จ่ายรายหัว การจัดทำบัญชีการเงิน ใบเสร็จรับเงิน การใช้จ่ายเงิน เงินยืม การจัดทำทะเบียน การจัดทำรายงานการขอซื้อ ขอจ้าง การเขียนเช็คสั่งจ่าย
          2. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการดำเนินงานด้านการแนะแนว ความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน การประกันคุณภาพ การพัฒนาโรงเรียนและพฤติกรรมนักเรียนงานธุรการ การกำกับติดตาม การพัฒนาวิธีการจัดกิจกรรมความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน
          3. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องนโยบาย แผน พันธกิจกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา
          4. ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ/ข้อบังคับ หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องวินัย การตรวจสอบภายใน/ควบคุมภายใน การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ/มาตรการ/ข้อกำหนดจากต้นสังกัด
          5. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี/การสื่อสาร หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
          6. ความเสี่ยงด้านร่างกาย หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของบุคลากรในสถานศึกษา เช่น การลื่นหกล้ม การทำร้ายร่างกาย การได้รับบาดเจ็บภายในสถานศึกษารวมไปถึงสุขภาพและความปลอดภัยทางด้านร่างกาย
          7. ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ ชื่อเสี่ยง หมายถึง ชื่อเสี่ยงของการจัดการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร การสอนของครู คุณภาพของนักเรียน การยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบต่อสถานศึกษา
          8. ความเสี่ยงด้านการทุจริต หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องหลักฐานทางการเงินสูญหายเอกสารทางการเงินถูกปลอมแปลง และการนำทรัพย์สินไปใช้ส่วนตัว
          9. ความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการระดมทรัพยากรการนิเทศ การปฏิบัติงานของบุคลากร การโยกย้ายผู้บริหาร
          10. ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้
          11. ความเสี่ยงด้านความมั่นใจทางการศึกษา หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องการร้องเรียนความเชื่อมั่น/ความมั่นใจ ชุมชนรอบโรงเรียนไม่ได้ความสำคัญต่อการร่วมมือในการพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียน การให้บริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอกหรือชุมชน
          12. ความเสี่ยงด้านข้อตกลงทางวิชาการ หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการทำการบ้านน้อยหรือไม่มีการบ้าน การไม่ตรวจงาน/การบ้าน การเลิกเรียนกลางคัน การไม่สนใจการเรียนรวมถึงความผูกพันกับสถานศึกษา การให้รางวัลและการลงโทษ
          13. ความเสียงด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความเสี่ยงในเรื่องความเสี่ยงภายนอกโรงเรียน
ความเสี่ยงภายในโรงเรียน ความเสี่ยงภายในอาคารเรียน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
การฝึกซ้อม/สอนวิธีการหลบภัยธรรมชาติ การเฝ้าระวังความเสี่ยง

  ลักษณะของปัจจัยเสี่ยง
          ปัจจัยเสี่ยงควรจะมีต้นเหตุที่แท้จริงเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการหามาตรการลดความเสี่ยงในภายหลังได้แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
          1. ปัจจัยเสี่ยงภายนอก คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมการเกิดได้โดยองค์กรเอง เช่น เศรษฐกิจ / สังคม / การเมือง / กฎหมาย  คู่แข่ง เทคโนโลยี  ภัยธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์องค์กร
          2. ปัจจัยเสี่ยงภายใน คือ ความเสี่ยงที่สามารถควบคุมการเกิดได้โดยองค์กรเอง เช่น วัฒนธรรมองค์กร  นโยบายการบริหารและการจัดการ ความรู้ / ความสามารถทักษะของบุคลากร กระบวนการทำงาน  ข้อมูล / ระบบสารสนเทศเครื่องมืออุปกรณ์ วัฒนธรรมองค์กร  นโยบายการบริหารและการจัดการ  ความรู้ / ความสามารถทักษะของบุคลากร กระบวนการทำงาน  ข้อมูล / ระบบสารสนเทศ  เครื่องมืออุปกรณ์

การดำเนินการการบริหารความเสี่ยง
1. การลด/การควบคุมความเสี่ยง  เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบการทำงานใหม่ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดหรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
2.  กระจายความเสี่ยงหรือการโอนความเสี่ยง เป็นการกระจายถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
3. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง  เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมาก และหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการหรือกิจกรรมนั้นไป
4.  การบริหารความเสี่ยงโดยการยอมรับความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นเมื่อพิจารณาเห็นว่าอาจเกิดความไม่คุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยงนั้นๆ

แผนจัดการความเสี่ยงแบบ 4T’s Strategies
          ทั้งนี้ในการดำเนินการให้พิจารณาถึงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
1. Terminate การหลีกเลี่ยง ความเสี่ยง
2. Transfer การกระจาย/ โอนความเสี่ยง
3. Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง
4. Take การยอมรับความเสี่ยง
          
ปัจจัยความเสี่ยงและแนวทางแก้ไขในสถานศึกษา
          จากข้อค้นพบในการวิจัยเรื่องการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัจจัยความเสี่ยง 5 ปัจจัยคือ
1. ด้านการเรียนการสอน
          แก่ความเสี่ยงในด้านการวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร ตำราเอกสาร คุณภาพวิทยานิพนธ์ การคัดเลือกนิสิต
          แนวทางแก้ไข  ปัจจัยความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนพบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการถ่ายโอนความเสี่ยง  การขาดเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบงานธุรการโดยเฉพาะเป็นความเสี่ยงอันดับแรกที่จะต้องนำไปวางแผนปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงก่อน รองลงมาคือครูที่มีความรู้ความสามารถลาออก สถานศึกษาการขาดบุคลากรฝ่ายสนับสนุน (non-teaching staff) ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นับว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดแก้ไข เนื่องจากคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนในประเทศโดยรวมจากการประเมินผลจากสำนักต่าง ชี้ให้เห็นว่าคุณภาพการศึกษายังอยู่ในลำดับกลาง ไปท้าย ในระบบ ranking แม้ว่าเราจะดำเนินการปฏิรูปครูด้วยระบบต่าง ทั้งการผลิตครู การพัฒนาครู การกำหนดมาตรฐานด้านครูและการให้รางวัลตอบแทนก็ตามแต่การปฏิบัติจริงของครูในโรงเรียนต่าง จะต้องทำงานในส่วนงาน 2 ส่วนคือส่วนงานสนับสนุนและส่วนงานสอนครูต้องทำเองทั้งหมดทุกภารกิจพูดง่ายๆก็คือครูจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการในเวลาเดียวกันกับเป็นผู้สอนทำให้ไม่มีเวลาในการออกแบบการสอนเตรียมการสอน พัฒนาเด็กและบริการวิชาการแก่เด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนขนาดกลางและเล็กเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนค่อนข้างมากที่รัฐบาลจะต้องจัดหาคนไปทำงานด้านการสนับสนุนให้กับโรงเรียนทุกแห่ง สำหรับความเสี่ยงในเรื่องของการกำกับและติดตามการวัดและประเมินผล และความเครียดในการปฏิบัติงานถึงแม้ว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยก็ตามแต่มีหลายประเด็นที่มีระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและระดับผลกระทบอยู่ในระดับค่อนข้างมากซึ่งในการบริหารความเสี่ยงจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการก่อนประเด็นอื่น คือการลาออกกลางคันของนักเรียนอันเนื่องมาจากการย้ายติดตามครอบครัว การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ ความเครียดในการปฏิบัติงาน
อันเนื่องมาจากเคยประสบปัญหาความยุ่งยากเกี่ยวกับภาระงานนอกเหนือจากงานสอน ความเครียดที่เกี่ยวกับ
ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้ในการทำงานและความเครียดที่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของครูกับผู้บริหาร
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน 
          ซึ่งครอบคลุมถึงความปลอดภัยของเงินสดและทรัพย์สิน การทุจริตรายงานการเงิน การขาดงบประมาณ การใช้จ่ายเงินกับผลที่ได้รับ  ความเสี่ยงด้านบัญชีและการตรวจสอบ ข้อตกลง สัญญา การโกง การหลอกลวงการบริจาคเงินในทางที่ผิด การขโมย ยักยอกและความเสี่ยงเกี่ยวกับความสิ้นเปลือง
การสูญเสียรายได้ การมีรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การทุจริตรายงาน ทางการเงิน การบันทึกบัญชีผิดพลาด ความปลอดภัยของเงินสด
          แนวทางแก้ไข ปัจจัยความเสี่ยงด้านการเงินพบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหา
มาตรการในการป้องกันความเสี่ยง การคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ลุกลามไปสู่สถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐมีความสลับซับซ้อนและยากแก่การตรวจสอบเช่นการเรียกการรับหรือยอมรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ การเบียดบังยักยอกหรือนำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ส่วนตัวโดยทุจริต การเบิกจ่ายเงินงบประมาณไม่โปร่งใส การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณไม่โปร่งใส การดำเนินการจัดซื้อจัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและมีจ้างไม่โปร่งใส การคอรัปชั่นยังมีปรากฏในสังคมไทยและในความซับซ้อนยากแก่การตรวจสอบ เนื่องจากวัฒนธรรมของคนไทยและข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดโครงสร้างสถานศึกษาไม่สอดคล้องต่อภารกิจที่เปลี่ยนไปสู่การกระจายอำนาจ
การบริหารจัดการความเสี่ยงในลำดับต้น คือความเสี่ยงทางด้านบัญชี/ความสำคัญของผู้ตรวจสอบบัญชี การบริจาคทรัพย์การปลอมแปลง ข้อตกลง รายงาน เอกสารหลักฐาน การโกง การหลอกลวง การฉ้อฉล การเปิดเผยข้อมูลเอกสารหลักฐานที่ไม่ เหมาะสมทางการเงิน การกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการได้มาซึ่งของสมนาคุณการกระทำที่ไม่เหมาะสมในการบรรจุ การปฏิบัติของผู้ทำสัญญา การไม่เปิดเผยรายงานตามข้อเรียกร้องการโต้ตอบกับสหพันธ์ทางการเงิน การขโมย การยักยอก การสูญเสีย การสิ้นเปลือง การใช้ในทางที่ผิดหรือความไม่เหมาะสมของแหล่งที่มา
          ความเสี่ยงที่ควรพิจารณาในลำดับต้น คือความเสี่ยงที่เกิดจากการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน งบประมาณถูกตัด งบประมาณที่ได้รับไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้การจัดสรรไม่พอเพียง

3. ด้านความมั่นใจทางการศึกษา
          ประกอบด้วย ความสามารถในการดูแลนักเรียนในโรงเรียน การแลกเปลี่ยนในการให้บริการทางการศึกษาและการมอบหมายงานในกิจกรรมโครงการต่างๆ
          แนวทางแก้ไข ปัจจัยความเสี่ยงด้านความมั่นใจทางการศึกษาพบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการ
ควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของภาคีคือ ชุมชน ผู้ปกครอง
และผู้ประกอบการ ความเสี่ยงเรื่องของการฟ้องร้องต่าง ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและข้อหาในการละเมิดข้อตกลงกับนักศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าตกใจ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรมีความรอบคอบ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงให้มากยิ่งขึ้น

4. ด้านสิ่งแวดล้อม
          ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศภายในและภายนอก ความเสี่ยงของน้ำ ภัยพิบัติ
ธรรมชาติที่เกิดจากพายุ ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากแผ่นดินไหว ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากอุทกภัย
          แนวทางแก้ไข  ปัจจัยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการถ่ายโอนความเสี่ยง  ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ซึ่งนักเรียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี น่าสนุกและเพลิดเพลินใจและควรมีข้อตกลงทางวิชาการระหว่างนักเรียนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงด้วย ผลการวิจัยดังกล่าวมีความสำคัญต่อบทบาทของครูในการสร้างบรรยากาศเช่นเดียวกัน

5. ด้านการบริหารความปลอดภัย  ได้แก่ ความเสี่ยงในการผิดระเบียบของนักเรียนในสถานศึกษา
          แนวทางแก้ไข ปัจจัยความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย พบว่าควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้ปกครอง
บุคลากรในสถานศึกษา ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง บริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันคอรัปชั่นในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐซึ่งพฤติกรรมการคอรัปชั่นได้กล่าวถึงการใช้เอกสารปลอม การใช้เวลาราชการไปหาประโยชน์แก่ตนเอง การออกคำสั่งสถานศึกษาที่ขัดต่อระเบียบกฎหมาย การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ การพิจารณาความดีความชอบขัดต่อหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนด การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (compliance risk) ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้หรือกฎระเบียบหรือกฎหมายที่มีอยู่ไม่เหมาะสม หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานเป็นลำดับต้น ที่จะต้องบริหารจัดการความเสี่ยงต่อไป


แนวทางการดำเนินงาน
          ในการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 17 โรงเรียนต้องดำเนินการและทราบว่า โรงเรียน มีความเสี่ยง หรือ เหตุการณ์เสี่ยงอะไรบ้าง  ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามนโยบาย และเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
      
                โอกาส(ความถี่ของการเกิดเหตุการณ์) x ผลกระทบ(ความรุนแรง/ความเสียหายทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน)
                 

                  เพื่อหาความสำคัญของความเสี่ยงว่าอยู่ในระดับใด (สูงมาก , สูง , ปานกลาง , ต่ำ) และ ให้นำความเสี่ยงที่มีระดับความสำคัญมาก   (สูงมาก , สูง , ปานกลาง )         มาดำเนินการบริหารความเสี่ยงตามลำดับความเสี่ยง
ประโยชน์ของการจัดทำแผนบริหารความสี่ยง
 1.  พันธกิจหลัก  ด้านการจัดการเรียนการสอน
ความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง
มาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยง
1.  หลักสูตรไม่ได้รับการพัฒนา
     1)  การประเมินหลักสูตรไม่สมบูรณ์
     2)  ข้อมูลในหลักสูตรไม่สมบูรณ์

1)  มีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาอย่างต่อเนื่อง
2)  วางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อ
      การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็น
      ศูนย์กลาง
2.  ขาดการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
     อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง
     1)  ครู  นักเรียน  ขาดทักษะในการใช้สื่อ 
IT

     2)  ครูนำผลงานการวิจัยในชั้นเรียน  มาใช้ใน
          การจัดการเรียนการสอนน้อยมาก


1)  กำหนดครูและนักเรียนใช้สื่อ 
IT  เป็นส่วนหนึ่ง
      ของการจัดการเรียนการสอน
2)  การจัดอบรม  เพื่อให้ความสำคัญกับการวิจัยใน
     ชั้นเรียน
3.  ขาดแคลนตำราและเอกสารอ้างอิง
      1)  ห้องสมุดขาดแคลนหนังสือ  ที่จะเอามาใช้
            ในการพัฒนาการเรียนการสอน
      2)  ครูและนักเรียนขาดแรงจูงใจในการ
           ค้นคว้าและเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ

1)  เพิ่มมาตรการและให้ความสำคัญกับการอ่านให้
     มากขึ้น  เช่น  โครงการรักการอ่าน
2)  กำหนดสิ่งจูงใจ  ล่อใจให้ครูและนักเรียนรักการ
     อ่าน  รักการศึกษาค้นคว้า  เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
4.  คุณภาพข้องห้องเรียนและอุปกรณ์การจัดการ
     เรียนการสอนไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้
     1)  ห้องเรียนไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการ
           สอน  การสอบหรือการทำกิจกรรม

     2)  คอมพิวเตอร์ล้าสมัย  ขาดการปรับปรุง
          พัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งาน


1)  การปรับปรุงห้องเรียนให้น่าเรียนรู้ เช่นการจัดมุม
     ต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
      หรือมุมแสดงผลงานของนักเรียน
2)  ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีให้
      เป็นปัจจุบัน  เพียงพอกับการใช้งาน
5.  ครูมีวุฒิไม่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมา
     1)  การสรรหาบุคลากรมีข้อจำกัด

1)  ให้ความสำคัญกับการส่งครูไปเข้ารับการอบรม
      พัฒนา  เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการ
      สอน
ความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง
มาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยง
1.  จำนวนเงินและแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัย
     เพื่อพัฒนางานการจัดการเรียนการสอนมีน้อย
     เกินไป
     1)  ขาดทักษะในการเขียนโครงการ
     2)  ขาดแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัย



1)  สร้างความร่วมมือ  ร่วมใจระหว่างโรงเรียน
      และชุมชน  เพื่อให้ชุมชนเห็นความสำคัญ
      และให้การสนับสนุน
2.  ครูไม่สนใจเรียนรู้การทำผลงานวิจัยในชั้นเรียน
     1)  ขาดแรงจูงใจในการเขียนบทความ
      2)  ครูมองเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ

1)  สร้างระบบพี่เลี้ยงและให้ความสำคัญกับการ
      วิจัยในชั้นเรียนให้มากขึ้น
3.  ขาดการยอมรับความเชี่ยวชาญ
    1)  ขาดการสร้างองค์ความรู้
    2)  ขาดการติดตามข้อมูล
    3)  ครูขาดประสบการณ์ในการทำวิจัย

1)  เพิ่มมาตรการในการสร้างแรงจูงใจ  เน้นการ
      ทำงานเป็นทีมให้มากขึ้น
ความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยง
มาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยง
1.  การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง
     1)  การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ยังไม่เต็มที่

1)  ทำการประชาสัมพันธ์ทั้งในเชิงรุกและในเชิง
     รับ  ผ่านสื่อที่เจาะกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
1.  แผนกลยุทธ์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และ
    วัตถุประสงค์ของโรงเรียนหรือการดำเนินงาน
    ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ของ
    โรงเรียนหรือแผนปฏิบัติการขาดความชัดเจน
    1)  การกระจายแผนกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติ
         การไม่ครบถ้วน
    2)  ไม่มีการกำกับ  ติดตาม  ตรวจสอบและ
         ประเมินผลการปฏิบัติงาน
    3)  การมอบหมายงานไม่ตรงกับขอบข่ายของ
         งานที่รับผิดชอบ
    4)  แผนกลยุทธ์ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทาง
         ปฏิบัติ เนื่องจากวางแผนไว้สูงเกินไป




1)  จัดทำแผนกลยุทธ์ใหม่  ให้การพิจารณาความดี
     ความชอบผูกติดกับผลงานที่ได้ระบุไว้ในแผน
2)  แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลการ
     ปฏิบัติงานตามแผน เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา
     แผนให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์
3)  พัฒนาตัวชี้วัดตามระดับความสำเร็จที่ระบุ
2.  การรับ จ่ายเงิน
      1)  รับเงินโดยไม่บันทึกในบัญชีหรือนำเงินไป
           ใช่ก่อน
      2)  จ่ายเงินโดยไม่ได้รับวัสดุ
      3)  จ่ายเงินซ้ำในรายการเดียวกัน

1)  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน  ไม่ซ้ำซ้อน
     กัน
      -  เจ้าหน้าที่พัสดุ
      -  เจ้าหน้าที่การเงิน
      -  เจ้าหน้าที่บัญชี
          อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะมีนโยบายแจ้งให้สถานศึกษาปฏิบัติการจัดการบริหารความเสี่ยงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบว่ามีการบริหารความเสี่ยงเพียงบางส่วน บางสถานศึกษาไม่ได้จัดทำการบริหารความเสี่ยงและบางสถานศึกษามีการจัดทำการบริหารความเสี่ยงแต่ไม่ครอบคลุมภารกิจของสถานศึกษาทั้งหมดเช่น บริหารความเสี่ยงเฉพาะด้านงบประมาณโดยพบว่ามีความเสี่ยงในเรื่องของการทุจริตของเจ้าหน้าที่การเงิน การเรียกเก็บเงินไม่เป็นไปตามระเบียบสถานศึกษา การจ่ายเงินโดยไม่ได้รับวัสดุ การจ่ายเงินซ้ำในรายการเดียวกัน การรับเงินโดยไม่บันทึกลงบัญชีหรือการนำเงินสดไปจ่ายก่อนและขาดการตรวจสอบการรับจ่ายเงิน เป็นต้น




ขั้นตอนในการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง 
          1. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมี ผู้อำนวยการโรงเรียน  เป็นประธานกรรมการ  ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในภารกิจหลักของโรงเรียน และผู้แทนจากทุกกลุ่มงานต่างๆ ในโรงเรียน ร่วมเป็นคณะทำงาน  ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำงาน สามารถมองเห็นความเสี่ยงที่แท้จริงของโรงเรียน ครอบคลุมในทุกด้าน  และสามารถขับเคลื่อนแผนบริหารความเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายได้
          2. สรุปแผนบริหารความเสี่ยงฯ ของโรงเรียน ในปีงบประมาณก่อนโดยระบุ ข้อดี ข้อเสีย ปัญหา อุปสรรค รวมถึงผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงของทุกประเด็นความเสี่ยงที่จัดทำในปีงบประมาณก่อนตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี  โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงฯ
          3. คณะกรรมการที่แต่งตั้งตามข้อ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีอำนาจทางการบริหารร่วมกันระดมสมองในการ ระบุความเสี่ยง หรือ ปัจจัยเสี่ยง ที่เป็นความเสี่ยงที่แท้จริงของโรงเรียน และเป็นความเสี่ยงระดับโรงเรียน  โดยดูจาก
                   3.1 ความล้มเหลว ความเสียหาย ที่ส่งผลให้โรงเรียน  ไม่บรรลุตามเป้าหมาย ตามภารกิจหลัก หรือตามกฎหมายจัดตั้งส่วนราชการ
                   3.2 เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ ตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการประจำปี    โดยดูว่าในปีงบประมาณนี้ หน่วยงานมีแผนการดำเนินงานหรือโครงการ อะไรบ้าง  และมีโครงการใด  ที่อาจไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
                   3.3 เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน หรือ นโยบาย เราเรียกว่า  เหตุการณ์เสี่ยง
          4. เมื่อโรงเรียนระบุความเสี่ยงได้แล้ว  ต้องทำการประเมินความเสี่ยงโดยประเมินจาก

          1. สะท้อนปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในโรงเรียน ทำให้บุคลากรในโรงเรียนมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลัก ตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่อาจส่งผลกระทบในเชิงลบ ได้อย่างครบถ้วน ครอบคลุมความเสี่ยง ที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกรงเรียน
          2. เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าความเสี่ยงนั้นๆ ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา
          3.  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียน
          4. ทำให้ได้ข้อมูลทีจะช่วยในการตัดสินใจเพื่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในอนาคต
          5.  มีแนวทางการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
         
ข้อแนะนำสำหรับการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา
              1.  ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้วางนโยบาย ในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา
              2. สถานศึกษาควรมีการปรับ (Fine tune) ปรับแก้เมื่อพบว่าวิธีการจัดการกับความเสี่ยงที่เลือกใช้ไปแล้วนั้นไม่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่น
           3.  สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีการบริหารความเสี่ยง เพื่อที่จะสามารถช่วยลดความสูญเสียซึ่งส่งผลต่อการบริหารงานต่างๆ
           4. สถานศึกษาควรมีการติดตามประเมินผลแผนกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นขั้นตอน
           5. สถานศึกษามีการปรับปรุงกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ
           6.  สถานศึกษามีการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานศึกษา
              7. สถานศึกษาควรมีการจัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา
              8. สถานศึกษาควรมีการกำหนดความเสี่ยงและมีมาตรการในการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
           9. การสร้างความรู้สึกในการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา ควรมีการออกเป็นหนังสือ เป็นนโยบายว่าจะทำการบริหารความเสี่ยงเพื่ออะไร มีใครรับผิดชอบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
              10.  สถานศึกษาควรมีข้อมูลของการดำเนินการ ที่สามารถลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในอดีต
              11. บริหารความเสี่ยงขององค์กรหรือ Chief Risk Officer (CRO) เพื่อควบคุมความเสี่ยง ในสถานศึกษา
              12.  สถานศึกษาควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติมจากองค์กรต่าง ๆ หรือนักบริหารความเสี่ยงคนอื่น
              13. ผู้บริหารควรจัดให้มีการประชุมร่วมกับตัวแทนของทุกส่วนในสถานศึกษาเพื่อกำหนดความเสี่ยงและการแก้ไขความเสี่ยงในสถานศึกษาร่วมกัน
              14. หากสถานศึกษาไม่มีการสำรวจความเสี่ยง จะทำให้องค์กรสูญเสียผลประโยชน์เป็นมูลค่ามาก

ตัวอย่างความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง
               ตามมาตรการการควบคุมและวิธีจัดการความเสี่ยงของโรงเรียน ความเสี่ยงและปัจจัย  ตามมาตรการการควบคุมความเสี่ยงเหล่านี้  เป็นเพียงตัวอย่าง  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาความเสี่ยงที่แท้จริงของโรงเรียน  ที่คณะทำงานบริหารความเสี่ยงจะต้อง ไปค้นหาความเสี่ยง  ตามขอบข่ายและภารกิจของงานที่ถือปฏิบัติ

2.  พันธกิจหลัก  ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน


3.  พันธกิจหลัก  ด้านวิชาการ


4. พันธกิจหลัก  ด้านการบริการและการสนับสนุน


เกณฑ์มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
          1. มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
          2. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของสถาบัน จากตัวอย่างต่อไปนี้
                   - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคาร สถานที่
                   - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถาบัน
                   - ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
                   - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ
                   - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร
                   - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
          3. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2
          4. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน
          5. มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
          6. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
จึงเห็นได้ว่าการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่สถานศึกษาจะเกิดความเสี่ยงให้ระดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สถานศึกษายอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ ทั้งนี้หากสถานศึกษาไม่ดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมงานในสถานศึกษาก็จะทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุพันธกิจและเป้าหมายของสถานศึกษาได้ และจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่สถานศึกษาจะเกิดความเสี่ยงให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สถานศึกษายอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบโดยคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลักของสถานศึกษาและเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของต้นสังกัดและเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีประสิทธิภาพครอบคลุมปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการศึกษาในปัจจุบัน ผู้วิจัยจึงใช้แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษามาประยุกต์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยที่จะศึกษาถึงปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษาและการพิจารณาเพื่อหาแนวทางในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป