หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บางนา, บางนา, Thailand
อยากเก่ง

17.9.57

สื่อการสอน แผ่นพับ



สื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการสอน
                    สื่อการสอน (Instructional Media) หมาย ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น
                   - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ
                   - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ
                   - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน
                   - คำพูดท่าทาง
                   - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร
                   - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
                   สื่อการสอนนั้นมีมากมายและได้พัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอตามความเจริญก้าวหน้า ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้กำหนดและแบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ หลายท่านด้วยกัน ดังนั้นผมจึงสรุปดังนี้จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของสื่อ การสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
                   1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                                1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น
                                1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
                   2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมาย ถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
                   3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมาย ถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
                   1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
                                1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
                                1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
                                1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
                                1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
                                1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
                   2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
                                2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
                                2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                                2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
                                2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
                                2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
                                2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
                                2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
                                2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
                                2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
                                2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา

ประโยชน์ของสื่อการสอนต่อครู
                สื่อกับผู้เรียน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
                1.  เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่าย ขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
                2.  สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุก สนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
               
3.  สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
                4.  สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และมีประโยชน์ ดังนี้
                                1.  ใช้ประกอบคำบรรยายในการสอน
                            2.  ช่วยเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาในรูปแบบเดียวกัน
                            3.  ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ
                            4.  เป็นสื่อพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน
                            5.  ใช้เป็นสื่อเพื่อการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์     
สื่อกับผู้สอน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
        
1.  การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่ เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
        2.  ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำ ได้ และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
        
3.   เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่อง ราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม สื่อการสอนจะมีคุณค่าต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ดังนั้น ก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้ ผู้สอนควรจะศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอนข้อดีและข้อจำกัดอัน เกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุ ประสงค์ที่วางไว้

หลักการใช้สื่อการสอน
                1. การวางแผน (Planning) การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน
                2. การเตรียมการ (Preparation) เมื่อ ได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
                                2.1  การเตรียมความพร้อมของผู้สอน
                                2.2  การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
                                2.3  การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
                                2.4  การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอน
                3. การนำไปใช้ ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุปในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้ เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วง เวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
                                1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน
                                2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน
                                3. ช่วงสรุปบทเรียน
                                4. ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
                                5. การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ
                4. การติดตามผล (Follow - up) ภาย หลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้างสื่อต่างๆ ที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน  หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนใช้ศึกษาความรู้ด้วยตนเอง

หลักการเลือกสื่อการสอน          
                   การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบ การสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำ          ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา คือ
                   1.  สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
                   2.  มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
                   3.  เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
                                1.  มีความสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
                                2.  ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี
                                3.   มีความชัดเจนและเป็นจริง และ 
                                4.  มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
การวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอน
            1.  การวิเคราะห์ผู้เรียน  (A : Analyze Learner Characteristic)
           2.   การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนการสอน (S : Stat Objective)
           3.   การเลือก ปรับปรุง การออกแบบสื่อการสอน (S : Select, Modify or Design Materials)
           4.   การใช้สื่อการเรียนการสอน (U : Utilize Materials)
            
5.  การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม (R : Require Learner Response)
           6.   การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน (E : Evaluation)

ข้อคิดในการใช้สื่อการสอน
                เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละครั้งเกิด ประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนสูงสุด  จึงขอเสนอข้อเตือนใจสำหรับผู้สอนให้ระลึกถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้สื่อการเรียน การสอนดังนี้
1.             ไม่มีสื่อการเรียนการสอนใดที่เหมาะสมกับทุกจุดประสงค์การเรียนการสอน
2.             ควรใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนดไว้
3.             ผู้ใช้สื่อการเยนการสอนจะต้องคุ้นเคยกับเนื้อหาและวิธีการนำเสนอของสื่อชนิดนั้นๆ
4.             สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับวิธีสอนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
5.             สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับสมรรถภาพ  และวิธีการเรียนของผู้เรียน
6.             สื่อการเรียนการสอนจะต้องให้ความเป็นรูปธรรม
7.             ควรจัดสิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับสื่อการเรียนการสอนที่ใช้
8.             ควรทดลองใช้สื่อการเรียนการสอนก่อนใช้และควรมีคู่มืออธิบายการใช้สื่อที่ชัดเจน

หลักการใช้สื่อการสอน
           ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่า จะใช้สื่อประเภทใดบ้าง           ในการสอน เพื่อให้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุด ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้ 
           
1.   เตรียมตัวผู้สอน  เป็นการเตรียม ตัวในการอ่าน ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับที่ต้องการหรือไม่ ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ควร ผู้สอนจะเพิ่มโดยวิธีใดในจุดไหนบ้าง จะมีวิธีใช้สื่ออย่างไร เช่น ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนำบทเรียนที่จะสอน แล้วอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวีดีทัศน์เพื่อเสริมความรู้ และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ในโปรแกรม PowerPoint อีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนเหล่านี้ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อ ได้ถูกต้อง
           2.   เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัด เตรียมวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม เตรียมสถานที่หรือห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น มีปากกาเขียนแผ่นโปร่งใสพร้อมแผ่นโปร่งใส แถบวีดีทัศน์ที่นำมาฉายมีการกรอกกลับตั้งแต่ต้นเรื่องโทรทัศน์ต่อเข้ากับ เครื่องเล่นวีดีทัศน์เรียบร้อย ที่นั่งของผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมและความพร้อมต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่ เสียเวลา
           
3.   เตรียมพร้อมผู้เรียน เป็นการ เตรียมผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่าง ไร เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมในการฟังดูหรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดี และสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้ หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเองผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็น อุปกรณ์ที่ผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น มีการทดสอบ การอภิปราย การแสดง หรือการปฏิบัติ  เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
           
4.   การใช้สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้ เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง เช่น การฉายวีดีทัศน์ ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออกทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวนห้องเรียนอื่นหรือค่อยเกินไปจนผู้เรียนที่นั่ง อยู่หลังห้องไม่ได้ยิน ดูว่ามีแสงตกลงบนพื้นจอหรือไม่ หากใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะต้องปรับระยะเครื่องฉายไม่ให้ภาพเบี้ยว (keystone  effect)  
           5.   การประเมินติดตามผล หลังจากมีการ เสนอสื่อแล้ว ควรมีการประเมินและติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปรายหรือเขียนรายงาน เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้น อย่างถูกต้องหรือไม่ เพื่อผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการสอนของตนได้

ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
                   การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
           1.   ขั้นนำสู่บทเรียน  เพื่อกระตุ้น ให้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็น สื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะ ลึกจริง อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิด และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคำ หรือเสียง เป็นต้น
          2.   ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็น ขั้นตอนที่สำคัญเพราะจะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียด เพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนจึงต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อประสม ก็ได้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการ เรียน การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและ ชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น ของจริง แผ่นโปร่งใส กราฟ วีดีทัศน์ แผ่นวีซีดี หรือการทัศนศึกษานอกสถานที่  เป็นต้น 
          
3.   ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการ เพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียน ได้ทดลองนำ
ความรู้ด้านทฤษฏีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้น ฝึกหัดโดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหา เทปเสียง สมุดแบบฝึกหัด ชุดการเรียนหรือบทเรียนซีเอไอ เป็นต้น
          4.   ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการเน้นย้ำ เนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาน้อย เช่น แผนภูมิ โปร่งใส กราฟ เป็นต้น
          
5.    ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบ ว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่สื่อในขั้นประเมินนี้ มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้ หรือบัตรคำหรือสื่อที่ใช้ขั้นกิจกรรมการเรียนมาถามอีกครั้งหนึ่ง และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทำของผู้เรีย

สื่อการสอน แผ่นผับ
                แผ่นพับ” มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Folder(s) แต่นิยมเรียกว่า โปร์ชัวร์(Brochure) ซึ่งหมายถึง เอกสารที่เย็บเป็นเล่มบางๆและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน"แผ่นพับ" สามารถพับ ได้ 3 - 6 หน้า (หน้า - หลัง) แต่นิยมใช้จะกระดาษ A4 พับเป็น 3 ตอน 6 หน้ามากที่สุดเนื่องจากสะดวก และประหยัด เมื่อพับจะมีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก รวมทั้งแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนได้โดยไม่ต้องมีเลขหน้า
                แผนผับ” เป็น สื่อประเภทสื่อสิ่งพิมพ์มีข้อความที่จำกัดมีขนาดเล็ก เหมาะกับคนทุกกลุ่มเป็นสื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสมพันธ์ให้กลุ่มเป้า หมายทุกกลุ่มรับรู้ถึงสาเหตุผลดีผลเสียของสื่อที่ต้องการประชาสมพันธ์ให้ เข้าใจและปฏิบัติตามนั้นเองแต่สื่อประเภทนี้ก็มีข้อเสียเหมือนกันคือไม่มี ความคงทนอาจ จะฉีกได้ง่าย และยังมีเนื้อหาที่จำกัดและรายละเอียดเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ

ขนาดแผ่นพับ
                ขนาดแผ่นพับที่เป็นที่นิยมกัน นอกเหนือจาก A4 พับเป็น 2 พับ 3 ตอน หรือ เป็นแผ่นพับ A4 แล้วพับครึ่งนั้น ก็จะมี อาทิ
  • ขนาด กางออกเป็น A3 (29.7 x 42.0 cm) พับครึ่งสำเร็จเป็น A4 ( 21.0x29.7 cm)
  • ขนาดกางออก 21.0 x 20 cm (ประมาณ 2 ใน 3 ของ A4) แล้วพับครึ่งเป็น 21x10 cm
  • ขนาด A4 3 ตอนยาว ( 29.7x 63.0 cm) แล้วพับเหลือเป็นขนาด A4 ( 21.0x29.7 cm)
ชนิดกระดาษที่ใช้ทำแผ่นพับ
  • กระดาษปอนด์ 60 - 100 แกรม ในกรณี เน้นประหยัด กระดาษปอนดที่บา์งที่สุด ที่พิมพ์ 4สี 2ด้า้น ได้โดยยังดูไม่ทะลุ จะเป็นกระดาษปอนด์ 70 แกรม
  • กระดาษอาร์ทมัน 85 - 160 แกรม เพื่อความดูดี ดูมีราคาของแผ่นพับขึ้นมาอีกโดยกระดาษอาร์ทมัน 85 แกรม ยังสามารถที่จะทำการพิมพ์ออฟเซ็ท 4สี 2ด้าน ได้ดีอยู่
  • กระดาษอาร์ทการ์ด 190 แกรมขึ้นไป กระดาษการ์ดจะมีความหนา ทำให้ไม่สามารถพับโดยใช้เครื่องพับได้เลยทันที จะต้องทำการปั๊มรอยพับก่อน แล้วจึงจะสามารถพับตามรอยพับได้
  • กระดาษการ์ดขาว , กระดาษปก , กระดาษนอก , กระดาษแฟนซี ,กระดาษชนิดอื่นๆ

 วิธีการออกแบบแผ่นพับ
               
แผ่น พับมีลักษณะเด่น คือสามารถพับได้หลายแบบ การพับแบบต่าง ๆ ทำให้ภาพลักษณ์ของสื่อเปลี่ยนไป แผ่นพับเมื่อพับแล้วจะมีจำนวนหน้าอย่างน้อย 4 หน้า ส่วนใหญ่แผ่นพับที่นิยมใช้กันอย่างแพราหลายจะมีจำนวนหน้าไม่เกิน 16 หน้า และเนื่องจากจำนวนหน้าเกิดจากการแบ่งกระดาษด้วยการพับจึงไม่นิยมใส่เลขหน้า การออกแบบแผ่นพับต้องพิจารณาขนาดข้อมูลอย่างชัดเจน ต้องแสดงลักษณะเฉพาะแต่ละหน้า และมีความสัมพันธ์กับหน้าอื่น ๆ ที่จะพับมาต่อกันด้วย
               การออกแบบแผ่นพับ ถ้าผู้ออกแบบแบ่งข้อมูลไม่ดี หรือจัดวางหน้าไม่เหมาะสมจะทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนได้ การออกแบบแผ่นพับที่ดีต้องกำหนดให้ข้อมูลแต่ละหน้าจบในตัวมันเอง ทำให้ผู้อ่านสามารถเริ่มอ่านตรงส่วนไหนก่อนก็ได้ นอกจากนี้ยังต้องคำนึกถึงการวางรูปภาพซึ่งจะต้องสอดคล้องกันด้วย
               งานกราฟิก บนแผ่นพับผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึง การกำหนดรูปแบบบนหน้ากระดาษแต่ละหน้า ซึ่งไม่ควรให้มีเนื้อหาแน่นเกิดไป ดังนั้นการจัดหน้ากระดาษแต่ละหน้าควรมีรูปแบบแตกต่าง กันไปแต่ต้องสอดคล้องสัมพันธ์กันนอกจากนี้ การเลือกรูปภาพประกอบควรเลือกรูปภาพที่สวยงาม และผู้ดูสามารถดูได้นาน ๆ โดยออกแบบได้ดังนี้
                   1. หน้าแรกของแผ่นพับต้องออกแบบให้สวยงาม สะดุดตา และน่าหยิบ มาอ่าน
                   2. จัดเรียงลำดับเนื้อหาได้เหมาะสม เพราะแผ่นพับไม่มีเลขหน้ากำกับ ผู้อ่านอาจจะสับสนได้ควรจัดทำโครวร่าง การนำเสนอเนื้อหาภาพ,กราฟิกประกอบ
                   3. ควรพับง่ายไม่ซับซ้อน หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นพับหลายหน้า เพราะจะทำให้อ่านอยาก 4.นำเสนอข้อมูลให้จบในแต่ละส่วนที่พับ หากจำเป็นต้องข้ามส่วน ควรออกแบบให้สะดวก หรือ ต่อเนื่อง เข้าใจง่าย
                   5.  ภาพหรือกราฟฟิกที่ใช้ประกอบ ควรส่งเสริมหรือสอดคล้องกับเนื้อหา
                   6.  ใช้หลักองค์ประกอบศิลป์ช่วยออกแบบ
ข้อดีของแผ่นพับ
                   1.  ผลิตปละปรับปรุงง่าย
                   2.  ประหยัด วงการศึกษามักใช้กันแพร่หลายโดยการถ่ายเอกสารขาวดำ
                   3.  ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ผู้อ่านสามารถอ่านซ้ำได้เมื่อต้องการ
                   4.  นำไปใช้ได้ในหลายวัตถุประสงค์


อ้างอิง
กิดานัน  มลิทอง, คุณค่าของสื่อการสอน [Online], 12 กันยายน 2553. แหล่งที่มา  http://202.143.161.22/e-                           Learning_html/a009.html
ไพศาล สุวรรณน้อย, สื่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา [Online], 5 กันยายน 2553, แหล่งที่มา                        http://ednet.kku.ac.th/~paisan/media/edmedia.doc
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. ( 2553), ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์บางเขน
สืบค้นจาก http://www.drpaitoon.com/wp-content/Documents/AR/prochure.pdf เมื่อวันที่   8 กันยายน 2557
ดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ .(2554).การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง.วารสารศึกษา .
มหาวิทยาลัยนเรศวร.สืบค้นจาก http://www.edu.nu.ac.th/wiwatm/ เมื่อ     8 กันยายน 2557
ไพศาล สุวรรณน้อย, สื่อการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา, [Online], แหล่งที่มา     http://ednet.kku.ac.th/~paisan/media/edmedia.doc เมื่อ 9  กันยายน 2557