หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
บางนา, บางนา, Thailand
อยากเก่ง

17.9.57

ครูแนะแนว



ครูแนะแนว

ความหมายของการแนะแนว
          การแนะแนวสามารถให้ความหมายได้ 3 นัย ด้วยกันคือ
1.  ความหมายตามรูปศัพท์
          การแนะแนว หมายถึง การชี้แนะการชี้ช่องทางให้ การบอกแนวทางให้ทางให้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาตัดสินใจได้ แต่มิใช่การแนะนำ ( Advise ) เพราะการแนะนำนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือจะหน้าที่เป็นผู้เลือก หรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้ ส่วนการแนะแนวนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือนักแนะแนวไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นผู้เลือกหรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลต่างๆ แล้วให้ผู้ที่มีปัญหาทำหน้าที่เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
2.  ความมายในแง่กระบวนการ ( Process )
          การแนะแนว หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือ      บุคคลให้เข้าใจตนเองและโลกของตน
จากความหมายของการแนะแนวในแง่กระบวนการนี้มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่ 4 ประเด็น คือ
          ประการแรก  กระบวนการ ( Process ) หมายถึง ปรากฏการณ์ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และคำว่ากระบวนการการแสดงให้รู้ว่า การแนะแนวมิใช่เหตุการณ์เดียวกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับชุดของการกระทำหรือลำดับขั้น ซึ่งก้าวหน้าไปเรื่อยๆ สู่เป้าหมาย
          ประการที่สอง  การช่วยเหลือ ( Helping ) หมายถึง การช่วย การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์การให้ประโยชน์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ   ( Helping Occupations ) เป็นจำนวนมาก เช่น จิตแพทย์นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต่างมีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ที่การป้องกัน ( Prevention ) การซ่อมเสริม ( Remediation ) และการเยียวยาแก้ไข( Amelioration ) ความยุ่งยากและความยากลำบากของมนุษย์
          ประการที่สาม  บุคคล ( Individuals )  หมายถึงนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา และยิ่งไปกว่านั้นการแนะแนวจัดว่าเป็นการช่วยเหลือที่จัดให้กับนักเรียนปรกติ ( Normal ) ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ สำหรับพัฒนาการที่เป็นปรกติ
ประการสุดท้าย การเข้าใจตนเองและโลกของตน ( Understand themselves and their world ) หมายถึงการที่บุคคลรู้ว่าตนเป็นใคร รู้ถึงเอกลักษณ์ของตน ( Personal Indentity )  รับรู้ธรรมชาติของตนอย่างกระจ่าง มีประสบการณ์ เกี่ยวกับโลกของตน สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและผู้คนที่ตนมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์
3.  ความหมายในแง่บริการ (Servicc)
          การแนะแนวเป็น บริการอย่างหนึ่งที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ สามารถเลือกและตัดสินใจได้ฉลาดแก้ปัญหาต่างๆ ของตนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
           นอกจากนี้ คำว่า  “การแนะแนว”  เป็นคำที่บัญญัติขึ้นใช้ให้ตรงกับในภาษาอังกฤษว่า  “ Guidance ”  ซึ่งมีความหมายว่า  “การชี้แนวทาง”  หรือ  “การชี้บ่อทาง”  แต่ความหมายที่แท้จริงนั้น  ได้มีผู้ให้นิยามหรือคำจำกัดไว้มากมายหลายอย่าง  ซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้ต่างกัน  ดังนี้
                Carter V. Cood ได้อธิบายความหมาย การแนะแนวว่า
                1.  การแนะแนว คือแบบของการช่วยเหลือที่มีระเบียบแบบแผนอย่างหนึ่ง (นอกเหนือจากการสอนตามปกติ) แก่นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลอื่นๆ เพื่อให้เขารู้จักแสวงหาความรู้ ความฉลาดปราศจากการบังคับใดๆเป็นการนำทางให้เขารู้จักการนำตนเอง
                2. การแนะแนว หมายถึงกลวิธีในการนำ เด็กไปสู่จุดหมายที่เขาปรารถนา โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สนองความต้องการมูลฐานของเขา และช่วยให้ความต้องการของเขาสัมฤทธิผล
                3. การแนะแนว คือ วิธีการที่สำคัญวิธีหนึ่งในการสอบแบบพิพัฒนาการ (Progressive Teaching) โดยการที่ครูเป็นผู้นำเด็กให้รู้จักค้นคว้า และช่วยให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง
                William M. Proctor นักศึกษาของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมายการแนะแนวไว้ว่า คือบริการซึ่งจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ทั้งที่ยังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนและที่ออกจากโรงเรียนไปแล้ว เพื่อช่วยให้เขาสามารถปรับตนได้ดีที่สุด และรู้จักตัดสินใจในการเลือกอาชีพ สันทนาการ สุขภาพ และการสังคมได้อย่างเหมาะสมที่สุด
                Arthur J. Jones กล่าวว่า การแนะแนวหมายถึงการช่วยเหลือให้บุคคลรู้จักสัดสินใจว่า เขาต้องการจะไปที่ไหน เขาต้องการจะทำอะไร ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจได้ว่า เขาจะทำให้ความหวังหรือจุดมุ่งหมายของเขาสัมฤทธิผลโดยสมบูรณ์ได้อย่างไร ช่วยให้เขาสามารถแก้ปัญหาต่างๆซึ่งเขาต้องประสบในชีวิตได้ด้วยดี
                Robert H. Knapp นักการศึกษาอีกผู้หนึ่ง กล่าวว่า การแนะแนวเป็นกรรมวิธีที่ซับซ้อน เป็นกรรมวิธีที่ช่วยให้ความต้องการของเด็กได้ประสบผลสำเร็จ ช่วยให้เด็กได้เข้าใจตนเอง รู้จักเลือกและรู้จักปรับตนด้านการเรียน การสังคม ความประพฤติ อารมณ์ สุขภาพ อาชีพ รวมตลอดถึงการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การแนะแนวเป็นกรรมวิธีหรือกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเป็นกระบวนการที่ต้องทำติดต่อกัน เพราะความเจริญเติบโตของเด็กต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา
                Leonard Carmichael กล่าวว่า การแนะแนวมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างแยกไม่ออก และเขาสรุปความหมายไว้ดังนี้
                1.การศึกษาที่ประสิทธิภาพ ก็คือ การแนะแนว (Effective education is guidance)
                2.การศึกษาที่แท้จริง ก็คือการสอนให้คนรู้จักการนำตนเอง (True education is always in a sense self-direction)
                3.การแนะแนวที่แท้จริง ก็คือการแนะแนวตนเอง (Realistic guidance is self-guidance)
                Lester D. Crow and Alice Crow ไดให้คำนิยามของการแนะแนวว่า การที่ผู้ให้คำปรึกษาที่มีความสามารถ (Competent Counselor) ได้ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลนั้นๆ จะมีอายุในวัยใดๆ ก็ตามให้เขาสามารถช่วยตัวของเขาเองได้ ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ด้วยตนเองได้ และรับผิดชอบในปัญหาต่างๆ ของตนเองได้ด้วย
                จากความหมายของการแนะแนวที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ พอจะสรุปได้ว่า การแนะแนวก็คือการบริการอย่างหนึ่งซึ่งโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนแต่ละคนให้รู้จักตนเองอย่างดี รู้ถึงความสามารถและขอบเขตแห่งความสามารถของตน ตลอดจนรู้โอกาสและช่องทางต่างๆ ที่จะใช้ความสามารถที่ตนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และแก่สังคมที่อาศัยอยู่ให้มากที่สุดเท่ามีจะมากได้ หรืออาจสรุปให้เป็นข้อความที่สั้นที่สุดได้ว่าคือการช่วยเหลือนักเรียนให้รู้จักช่วยตนเอง
                จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของการแนะแนว เพ่งไปที่การช่วยนักเรียนแต่ละคนให้สามารถแก้ปัญหาสามารถเลือกสามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างที่สุด อย่างฉลาดที่สุด สามารถดำเนินชีวิต และปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ ให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี จนมีความสุข ความเจริญและความก้าวหน้าในชีวิต

ปรัชญาของการแนะแนว
                บริการแนะแนวที่ถือปฏิบัติกันอยู่ในเวลานี้ ได้อาศัยทัศนะหรือแนวคิดดังต่อไปนี้เป็นรากฐานคือ
                1.  บุคคลแต่ละคนที่เกิดมาย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในทางร่างกาย สังคม อารมณ์ ความรู้ เชาว์ ความถนัดตามธรรมชาติ เจตนคติ ความสนใจ ความสามารถ ฯลฯ และระดับของคุณสมบัติต่างๆ ก็ไม่เสมอหรือเท่าเทียมกัน อันมีผลกระทบไปถึงความสามารถที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ กัน ถ้าบุคคลทุกคนได้ใช้ธรรมชาติที่มีมาในทางที่เหมาะสม ก็ย่อมจะประสบในความก้าวหน้า และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมเป็นอเนกประการณ์ แต่ถ้าใช้ฝืนธรรมชาติ ผลที่ได้รับย่อมตรงกันข้าม
                2.  มนุษย์เป็นทรัพยาการที่มีค่าสูงยิ่ง ฉะนั้น โรงเรียนก็ดี หรือสถาบันต่างๆในสังคมก็ดี จะต้องร่วมมือกันพัฒนาคนให้เจริญขึ้นในทุกๆ ด้าน เพื่อเป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) เพื่อจะได้ใช้พลังมนุษย์ให้ได้ผลสูงสุด
                3.  บุคคลจะมีความสุขก็ในเมื่อแต่ละบุคลได้รับการศึกษาจนสุดขีดแห่งสติปัญญาและความสามารถของเขา มีแผนการดำเนินชีวิตที่ถูกหลักวิชา สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งกำลังเผชิญหน้าอยู่และซึ่งอาจจะต้องเผชิญในอนาคต และใช้ความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และต่อสังคมให้มากที่สุด
                4.บุคคลทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือไม่มากก็น้อย ไม่คราวใดก็คราวหนึ่งในชีวิต คนบางคนต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นบ่อยๆ และบางคนก็ต้องการความช่วยเหลืออยู่ตลอดชีวิต แต่บางคนต้องการความช่วยเหลือเฉพาะบางช่วงของชีวิตซึ่งมีปัญหาหรือมีความทุกข์เกิดขึ้นเท่านั้น สำหรับเยาวชนหรือนักเรียนซึ่งยังอ่อนต่อโลกนั้น ย่อมจะแก้ปัญหาต่างๆ ตามลำพังตนเองได้โดยยาก จึงจำเป็นย่อมได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการแก้ปัญหา หรือการสนองความต้องการต่างๆของตน
                5.  บุคคลแต่ละคนย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว ถ้าหากได้รับการชี้ช่องทางหรือแนวทางที่ถูกที่ควร เขาก็สามารถช่วยตัวของตัวเองได้ หรือเจริญงอกงามไปในทางที่ดีได้
                 
           นักวิชาการบางท่านแสดงความคิดเห็นว่า  ปรัชญา ก็คือแนวความคิดหรือทัศนะความคิดซึ่งได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์สมควรยึดถือเป็นหลักในการดำเนินงาน
              ดังนั้น ปรัชญาของการแนะแนว หมายถึง แนะแนวความคิดหรือทัศนะความคิดเห็น ซึ่งได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์ สมควรยึดถือเป็นหลักในดำเนินงานแนะแนวซึ่งมีอยู่ 7 ประการด้วยกัน คือ
             1  .แนวความคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) จัดว่าเป็นแนวความคิดหลักของการแนะแนว เพราะเป้าหมายสูงสุดของการแนะแนวก็คือการส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล   การช่วยให้บุคคลแต่ละคนได้มีความเจริญงอกงามและพัฒนาการอย่างมีบูรณาการสุดขีดความสามารถของตน
              2.  แนวความคิดเรื่องทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง   เพราะสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ   ไม่ว่าจะมีคุณค่ามากสักเพียงใดก็ตามล้วนเกิดจากคิดค้นสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ทั้งสิ้น   ดังนั้น   สถาบันต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นบ้าน  โรงเรียน   วัด  หน่วยงานของรัฐบาล  ตลอดจนหน่วยงานของเอกชนควรจะได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการสูงขึ้นในทุก ๆ ด้าน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์และเพื่อที่จะได้ใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
              3.  แนวความคิดเรื่องความร่วมมือ (Cooperation) ไม่ใช่การบังคับ (Compulsion) ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือของการแนะแนวจะต้องเป็นไปในลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้ให้ความร่วมช่วยเหลือและผู้รับความช่วยเหลือ   จะไม่ใช้วิธีการบังคับและจะเน้นที่การให้บุคคลผู้มีปัญหาได้ปลดปล่อยแรงจูงใจภายในของตนออกมา   และการช่วยเหลือนี้จะต้องช่วยให้บุคคลผู้มีปัญหาเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ในที่สุด (Help him to help himself)
             4.  แนวความคิดเรื่องคุณค่า (Worth) และให้เกียรติ (Dignity) ของบุคคล นั่นคือในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่ามนุษย์ทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณค่าและมีเกียรติเท่าเทียมกัน ไม่ควรได้รับการดูถูกเหยียดหยามไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ที่มีปัญหาหรือไม่ก็ตาม   และทุกคนก็มีสิทธิ์และมีอิสระภาพในการเลือกเป้าหมายชีวิตของคน (Freedom to Choose)
             5.  แนวความคิดเรื่องพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุ (Cause) และจุดมุ่งหมาย (Purpose)   ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมทุกพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุและจุดมุ่งหมาย   ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ผิดปรกติหรือเบี่ยงเบนไปของนักเรียน   จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงสาเหตุแห่งความผิดปรกตินั้น ๆ เสียก่อน  เมื่อค้นพบสาเหตุแล้วย่อมจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ถูกจุดและทำได้ง่าย
             6.  แนวความคิดเรื่องพัฒนาการด้านส่วนตัว (Personal Development) นั่นคือในการแนะแนวมีความคิดเห็นว่างานของการศึกษาเป็นการพัฒนามนุษย์ทางด้านสมองหรือสติปัญญาเท่านั้น    แต่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาการด้านส่วนตัวด้วย   ซึ่งถือว่าเป็นงานของการแนะแนวโดยเฉพาะเป็นการช่วยให้มนุษย์ได้รู้จักและเข้าใจตนเอง
           7. แนวความคิดเรื่องการแนะแนวเป็นกระบวนการทางการศึกษาที่มีลำดับขั้น  และต่อเนื่อง (Continuous)  นั่นคือในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าการแนะแนวมิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว   หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขั้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง   แต่เป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องตั้งแต่ระดับประถมศึกษา   จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาและก้าวเข้าสู่โลกของงาน (World of Work)


ประวัติความเป็นมาของการแนะแนว

          การแนะแนวเป็นวิชาการที่เกิดขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีอายุเกือบหนึ่งร้อยปีแล้วก็ตาม แต่ถ้าเปรียบเทียบกับศาสตร์แขนงอื่นๆ กล่าวได้ว่าได้วิชาการแนะแนวมีอายุน้อยกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ไม่ว่าวิชาการที่ศาสตร์    บริสุทธิ์ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือ ศาสตร์ทางด้านสังคม เช่น ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยารัฐศาสตร์ หรือแม้แต่ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ซึ่งได้แก่ จิตวิทยา เป็นต้น
          การแนะแนวถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นระบบในสหรัฐอเมริกา โดยมีจุดเริ่มต้นจากการแนะแนวอาชีพ ในปี  ค.ศ. 1985  ผู้ที่ริเริ่มวางรากฐานการแนะแนวอย่างเป็นระบบจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการแนะแนวได้แก่  Frank  Parsons  จากจุดเริ่มต้นการแนะแนวอาชีพในสถานศึกษา
ต่อมาได้ขยายขอบข่ายมาสู่การแนะแนวการศึกษาโดย  Truman  L.Kelley  ได้บัญญัติศัพท์  การแนะแนวการศึกษาขึ้นในปี ค.ศ. 1914 และต่อมาในปี ค.ศ. 1920  william  M  Proctor  ได้เสนอแนวคิดว่า การแนะแนวควรมีขอบข่ายที่ครอบคลุมการแนะแนวการศึกษา การแนะแนวอาชีพ และการแนะแนวส่วนตัวและสังคม  จากนั้นได้ขยายสู่ประเทศอื่นๆในแถบยุโรปและเอเชีย เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ได้รับอิทธิพลด้านการแนะแนวจากประเทศสหรัฐอเมริกา
          เริ่มการแนะแนวอย่าง เป็นระบบในปี พ.ศ. 2496     ซึ่งกรมสามัญร่วมกับองค์การUNICEF ได้จัดให้มีโครงการทดลองโรงเรียนมัธยมแบบประสมขึ้นที่  โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจัดให้มีห้องศึกษาสงเคราะห์ เพื่อให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกวิชาเรียนและ
ต่อมาได้มีการจัด   "กิจกรรมสำรวจ"  ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมสึกษาปีที่ 1-3 ในโครงการทดลองเรียนหลักสูตรมัธยมแบบประสม  เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในการเลือกวิชาเรียนตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจโดยใช้เวลา 1 คาบต่อสัปดาห์ในทุกภาคเรียน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการจัดบริการแนะแนวในคาบเรียน  ซึ่งภายหลังจากที่ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นในพุทธศักราช 2521  และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายในปีพุทธศักราช 2524 ได้มีการกำหนดให้มีการจัดการแนะแนวไว้ในคาบเรียน
          ต่อมาเมื่อมีการ ประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2544  จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งมีการประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551   "กิจกรรมแนะแนว"  ได้ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซึ่งทุกสถานศึกษาจะต้องจัดให้แก่นักเรียน 
          ในการจัดโครงการบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ถ้าจะให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องจัดให้มีบริการหลักทั้ง 5 บริการนี้อย่างครบท้วน
บริการเสริม หมายถึงบริการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องการแนะแนวโดยตรง แต่เป็นบริการที่จะ ช่วยให้โครงการแนะแนวของโรงเรียนได้ผลดีมากขึ้น ซึ่งได้แก่บริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.       บริการจัดหาให้และให้ทุน
2.       บริการอาหารกลางวัน
3.       บริการสอนซ่อมเสริม
4.       บริการสุขภาพ
5.       บริการที่พัก
          จะเห็นได้ว่าบริการต่างๆ ที่จัดเป็นบริการเสริมของโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนนั้นเป็นบริการที่จะช่วยจัดปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้มาก สมควรที่ทางโรงเรียนจะได้จัดให้มีขึ้นในโรงเรียนของตน ควบคู่กับการจัดบริการแนะแนว เพราะจะช่วยให้ความช่วยเหลือนักเรียนของทางโรงเรียนเป็นไปอย่างได้ผลดีและสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง

ความสำคัญของการแนะแนว
          ปัจจุบันการแนะแนวได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก การแนะแนวมีจุดมุ่งหมายและหลักการที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ การช่วยให้เยาวชนของชาติเป็นผู้ที่คิดเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกๆ ด้าน มุ่งสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ได้มีกำหนดให้มีกิจกรรมแนะแนวอย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และยังได้กล่าวไว้หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรว่า โรงเรียนต้องจัดให้มีบริการแนะแนวส่วนตัว แนะแนวการเรียนและการศึกษาต่อ เพื่อใช่ให้แก้ปัญหาให้นักเรียนสามารถเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล
          นอกจากนี้กิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น หลักสูตรยังได้ระบุอีกว่ากิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นนี้จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ของการแนะแนว คือ การแนะแนวการศึกษาการแนะแนวอาชีพ การแนะแนวบุคลิกภาพและการปรับตน โดยเฉพาะด้านประพฤติ
          การที่วิชาการแนะแนวหรือปัจจุบันนี้นิยมเรียกว่า จิตวิทยาการแนะแนวเข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ก็เนื่องจากเยาวชนเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ เพราะจะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งจะต้องรับผิดชอบประเทศชาติต่อไป จึงสมควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์สังคมและจิตใจ เพื่อช่วยให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวอยู่ในสักคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข และเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นที่พึงประสงค์ของประเทศชาติ

หลักการที่สำคัญของการแนะแนว (Basic Principles of Guidance)
          หลักสำคัญๆ ของการแนะแนวที่ควรยึดถือในการดำเนินงานมีดังนี้
          1. การแนะแนวเป็นงานส่วนหนึ่งของงานจัดการศึกษาจะแยกจากกันมิได้ยากที่จะขีดเส้นแบ่งลงไปว่า นี่เป็นงานด้านการเรียนการสอน และนี่คือการแนะแนว เพราะงานแนะแนวย่อมสอดแทรกอยู่ในงานด้านการเรียนการสอน และการอบรมนักเรียนของโรงเรียนด้วย เป็นงานบริการที่ช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่ถูกต้อง
          2.   การแนะแนวจัดขึ้นเพื่อบุคคลแต่ละคน จึงเป็นการช่วยเหลือสังคมไปด้วยเพราะสังคมย่อมประกอบขึ้นด้วยตัวบุคคล
          3.   การแนะแนวเป็นกระบวนการที่ต้องมีอยู่ตลอดชีวิตของคนเรา บิดา มารดา ญาติพี่น้องมิตรสหายของเรา ครู พระสงฆ์ ตลอดจนผู้ชำนาญการในสาขาวิชาชีพต่างๆ จำเป็นต้องให้ความอนุเคราะห์ตามสมควร แต่ถ้าหากบุคคลเรามีปัญหาส่วนตัวที่สำคัญ อาจต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญพิเศษในด้านนั้นๆ เป็นผู้ให้การช่วยเหลือหรือแนะแนวโดยเฉพาะ
          4.  การแนะแนว เน้นความสำคัญในเรื่องการเข้าใจตนเอง (Self-understanding) การตัดสินใจด้วยตนเอง (Self-determination) และการปรับตนของตนเอง (Self-adjustment) ผู้แนะแนวควรยอมรับว่า บุคคลแต่ละคนย่อมมีคุณค่าและมีความสามารถติดมากับตัวผู้แนะแนวจึงควรพยายามหาทางให้ผู้รับแนะแนวได้รู้ความจริงเกี่ยวกับตนเองซึ่งผู้รับอาจแนะนำตัวของตัวเองไม่ออก หรืออาจไม่เข้าใจตนเองในตอนแรก เมื่อเขาได้รับการแนะแนวที่ถูกทางแล้ว เขาย่อมช่วยตัวของเขาเองได้ พึ่งตนเองได้ในที่สุด
          5.   การแนะแนะควรจะเน้นในเรื่องการป้องกันการปรับตัวไม่เข้าหรือการปรับปรุงตัวคลาด (Prevention of maladjustment) ยิ่งกว่าการแก้ไขหรือการรักษา บริการแนะแนวนั้นควรจัดเพื่อนักเรียนทุกคน คือทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่ปรับตัวไม่เข้าด้วย อันที่จริงนั้นงานแนะแนวมุ่งหมายให้บริการแก่นักเรียนประเภทที่เรียกว่า นักเรียนระดับปานกลาง นักเรียนทั่วไป หรือนักเรียนปกติ (average, typical, or norrnalpupil) เพราะนักเรียนที่เป็นเด็กปกตินั้นก็ย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสามารถ ความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ ความต้องการและลักษณะอื่นๆด้วย
          6.   ผู้ที่ทำหน้าที่แนะแนวจะต้องผู้ที่มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและแปลความหมายของข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนจะต้องจัดเก็บไว้อย่างมีระเบียบ และพร้อมที่จะหยิบใช้ได้ในเมื่อถึงคราวที่จะต้องนำเอาออกมาใช้
          7.   การแนะแนวเป็นกระบวนการรวม (Unified process) ซึ่งในการพิจารณาทั้งคนหรือทั้งตัว (as a whole) ดังนั้นจึงควรพิจารณากันถึงการแนะแนวชีวิต (Life guidance) มากกว่าการที่จะมาพิจารณากันว่าตอนนี้ตอนนั้นเป็นการแนะแนวการศึกษา การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวสุขภาพ การแนะแนวการใช้เวลาว่าง การแนะแนวปัญหาส่วนตัว การแนะแนวเศรษฐกิจ หรือการแนะแนวอื่นๆ เพราะการแนะแนวย่อมช่วยให้บุคคลเราเกิดการบูรณาการ (Integration) ในเรื่องต่างๆ ของชีวิตรอบด้าน
          8.   ในการดำเนินการแนะแนวนั้น ถ้าจะให้ได้ผลดีประสิทธิภาพจะต้องได้ผู้บริหารที่ดีมีความสามารถในการเป็นผู้นำ กล่าวคือผู้บริหารงานนับตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมต่างๆ ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ตลอดจนผู้ช่วยครูใหญ่ เหล่านี้จะต้องให้การสนับสนุนและร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงานตามแนะแนวที่จัดตั้งขึ้นในสถาบันการศึกษาต่างๆ
          9.   ครูทุกๆ คนในโรงเรียนจะต้องมีบทบาทหรือมีหน้าที่บางประการในโครงการแนะแนวของโรงเรียน การแนะแนวมิใช่บริการให้ความช่วยเหลือของบุคคลผู้ทำหน้าที่แนะแนวโดยเฉพาะเพียงคนหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น การแนะแนวเป็นบริการของครูในโรงเรียนทั้งคณะ (Guidance is staff service) ซึ่งครูทุกๆ คนจะต้องให้ความร่วมมือตามควรแก่ตำแหล่งหน้าที่ บริการแนะแนวจะดีได้จะต้องอาศัยบุคลากรของโรงเรียนทั้งหมด (the entire school personnel) บทบาทหรือหน้าที่ของบุคลากรทั้งหลายในโครงการแนะแนวของโรงเรียนมีอย่างไรบ้าง จะต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจน ครูทุกๆคนในโรงเรียนจะต้องทราบดีว่าบริการแนะแนวจัดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อันใดบ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวทุกๆ คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูประจำชั้น จำเป็นต้องได้รับการศึกษาหรือฝึกอบรมเกี่ยวกับการแนะแนวด้วย การฝึกอบรมอาจจะใช้วิธีฝึกอบรมในงาน หรือที่เรียกว่าฝึกในระหว่างประจำการ (In-service training) ก็ได้ ถ้าหากวิธีหมุนเวียนส่งไปเข้ารับการอบรมวิชาการแนะแนวก็ได้จะเป็นวิธีที่ดี
          10.   การแนะแนวจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อได้บุคลาการแนะแนวที่มีคุณสมบัติดี ได้รับการฝึกอบรมแล้วเป็นอย่างดีเป็นผู้ดำเนินงาน ความเข้าใจของบางคนที่ว่าใครๆ ก็ทำหน้าที่แนะแนวได้นั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด เท่าๆ กับที่เข้าใจว่าผู้ชำนาญการแนะแนวเท่านั้นจึงจะแนะแนวได้ จริงอยู่ผู้ที่ฝึกตนเองโดยศึกษาจากตำราหรือวารสารต่างๆ เกี่ยวกับการแนะแนว อาจจะทำการแนะแนวได้พอสมควร แต่จะตั้งตนเป็นผู้ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลโดยไม่ได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการแนะแนวให้สูงพอแล้วอาจเป็นอันตรายแก่นักเรียนได้ เพราะการแนะแนวเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะซึ่งต้องศึกษาเล่าเรียนกันจริงจัง
          11. โครงการแนะแนวจะให้ผลดีก็ต่อเมื่อได้จัดให้มีบริการต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็นไว้ในโครงการ เช่น บริการสำรวจตัวนักเรียน (Individual inventory service) บริการสนเทศ (Information service) บริการให้คำปรึกษา (Counseling service) บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement service) บริการติดตามผล (Follow-up service) บริการแก่คณะครู (Service to the staff) บริการด้านวิจัย (Research service) และบริการประเมินผล (Evaluation service) เป็นต้น
          12 ในการดำเนินงานแนะแนวนั้น ควรมีการประเมินผลงานของโครงการแนะแนวเป็นระยะๆ เพื่อดูว่าโครงการแนะแนวของโรงเรียนที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ผลแก่พฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างไรบ้าง มีข้อบกพร่องที่สมควรแกไขปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

          การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน   ถ้าต้องการให้ได้ดีมีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามหลักการที่สำคัญต่อไปนี้เช่นกัน ได้แก่      
        1.  การจัดบริการแนะแนวโรงเรียนจะต้องมุ่งให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุกคน   เนื่องจากนักเรียนทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือจากโรงเรียนของตน   และเป็นการให้บริการด้วยความเสมอภาคเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน
        2.  การจัดบริการแนะแนวจะต้องกระทำอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง   คือ   จัดอย่างเป็นระบบมีระเบียบแบบแผน   มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ทุกขั้นตอน   จนกระทั่งบุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือสามานำตนเองได้   ช่วยตนเองได้
       3.  ผู้ทำงานแนะแนวจะต้องยอมรับในความเป็นเอกัตบุคคล (Individual) ของนักเรียน   นั่นคือจะต้องมีความเข้าใจและยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)   ซึ่งมีประเด็นสำคัญ   ดังนี้
            3.1  บุคคลแต่ละบุคคลย่อมมีลักษณะเฉพาะของตนเองจะไม่เหมือนคนอื่น   ไม่ว่ารูปร่าง   สติปัญญา   ความสามารถ   อุปนิสัย   ค่านิยม   ความสนใจ
            3.2  บุคคลแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการไปตามลักษณะเฉพาะของตน   อย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง
            3.3  บุคคลแต่ละคนย่อมมีกระบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลงตน   ตามประสบการณ์ที่ตนเองประสบมาและตามแนวทางหรือแผนการของตนที่วางไว้สำหรับอนาคต
          4.  การแนะแนวเป็นงานที่วางอยู่บนพื้นฐานกระบวนการการพฤติกรรมของบุคคลและเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์   ดังนั้นการแนะแนวจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและกลวิธีต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นแบบทดสอบและไม่ใช่แบบทดสอบ   เพื่อจะได้เข้าใจบุคคลแต่ละคน   และเพื่อช่วยให้บุคคลได้เข้าใจตนเอง   เพื่อจะได้สามารถควบคุมพัฒนาการส่วนตัวของนักเรียนได้
          5.  ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแต่ละคน  นั่นคือจะต้องอยมรับว่านักเรียนแต่ละคนมีอิสรภาพที่จะเลือกแนวทางชีวิตของตนเอง   การเลือกและการตัดสินใจของนักเรียนควรเกิดจากการใช้วิจารณญาณของนักเรียนเอง   ไม่ใช่การบังคับ
          6.  การแนะแนวถือว่าเป็นส่วนของกระบวนการของการศึกษา   ดังนั้นการแนะแนวควรจะสอดแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน   เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้มีพัฒนาตนเองทุกด้านอย่างมีบูร ณ า การ (Integration)
         7.  การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ  ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแนะแนว (Counselor)  จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมทางการแนะแนวมาโยเฉพาะ   มีทั้งความรู้ (Knowledge)   และทักษะ   (Skills) ที่เหมาะสมและมีการจัดดำเนินการแนะแนวอย่างมีระบบ (Systematical Guidance)
          8.  ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี   มีความเป็นประชาธิปไตย   เป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น   และจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
           9.  การจัดบริการแนะแนวจะได้ผลดีมีประสิทธิภาพ   จะต้องเกิดจากความร่วมมือและความสมัครใจจากบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน   และนักเรียนผู้มารับบริการจะต้องมาด้วยความเต็มใจให้ความร่วมมือด้วย
           10. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่สามารถเก็บรักษาความลับได้   เพราะถ้าเป็นผู้ที่ไม่สามารถเก็บรักษาความลับ   ก็จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย   ทำให้ขาดความไว้วางใจและไม่ยินดีที่จะมารับความช่วยเหลือ


สาเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องมีการแนะแนว
        การที่ทางโรงเรียนมีความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน   ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการปรับตัว   เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้แก่
             1.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ  เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างระรัดตัว   เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการครองชีพสู.   เป็นเหตุให้ทั้งบิดามารดาต้องออกไปประกอบอาชีพ   เพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะช่วยครอบครัวอยู่อย่างมีความสุข   ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปทางบ้าน  ทำให้บิดามารดาไม่มีเวลาที่จะดูแลบุตรหลานของตนได้อย่างใกล้ชิดเช่นแต่ก่อน   เด็กจึงมีอิสระมากขึ้นในการคบเพื่อน   หรือกระทำกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการแนะแนวขึ้น   เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ได้รู้จักเลือกคบเพื่อน   รู้จักใช้เวลาว่างให้เหมาะสมและสามารถตัดสินใจอย่างฉลาด
             2.  การเปลี่ยนแปลงด้านงานอาชีพ   ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีเจริญเพิ่มขึ้นมาก   ก่อให้เกิดการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้เกิดอาชีพใหม่เพิ่มขึ้นมากมายและอาชีพแต่ละอย่างก็ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติ   มีความรู้   ความสามารถ   แตกต่างกันไป   ผู้ที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้จะเป็นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาในด้านนั้นโดยเฉพาะ   ดังนั้นการแนะแนวจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านนี้   เนื่องจากจะต้องช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนและตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   สอดคล้องกับความสามารถ   ความถนัด   ความสนใจ   ของนักเรียนแต่ละคน
             3.  การเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนประชากร ปัจจุบันประชากรของประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอัตราการเกิดจะลดลงแล้วก็ตาม   ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ   เช่น  ปัญหาที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ   มีการแข่งขันกันสูง   เนื่องจากเกิดสภาวะคนล้นงาน  ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานมีเพิ่มมากขึ้น   ปัญหาจำนวนนักเรียนล้นชั้นเรียน   โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและอยู่ในเมือง   แต่ในทางตรงกันข้ามโรงเรียนที่อยู่ในชนบทหรือโรงเรียนเล็ก ๆ กลับไม่ค่อยมีนักเรียนเข้าเรียน   เนื่องจากผู้ปกครองมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา   เพราะได้พบเห็นว่าผู้ที่ศึกษาสูง ๆ แต่เมื่อสำเร็จออกมากลับไม่มีงานทำ   ต้องเหลือนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และเพื่อจะได้ชี้แจงให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์
            4.  การเปลี่ยนแปลงด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม   เนื่องจากปัจจุบันนี้กาเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เด็กเกิดความสงสัยและเกินความสับสนวุ่นวายในจิตใจ เนื่องจากสิ่งที่ทางบ้านและทางโรงเรียนสอนให้เด็กประพฤติปฏิบัติ กับสิ่งที่เด็กได้พบเห็นในสังคมนั้นไม่สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน ทำให้เด็กเกิดความลังเลว่าตนควรจะเชื่อคำสั่งสอนของทางบ้านและโรงเรียนดี หรือควรจะเชื่อตามความเป็นไปของสังคม ด้วยเหตุนี้ทำให้เด็กไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรถูก อะไรไม่ถูก ด้วยเหตุนี้การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นบริการที่จะช่วยให้เด็กสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและถูกต้อง
           5.  ความเปลี่ยนแปลงด้านปรัชญาการศึกษาและหลักสูตร ปรัชญาการศึกษาปัจจุบันเน้นให้เด็กคิด ทำเป็น แก้ปัญหา และยังมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ดังนั้น หลักสูตรจึงมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา คือ หลักสูตรการศึกษาจึงเป็นหลักสูตรแบบกว้างเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเลือกเรียนวิชาต่างๆ ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล แต่การที่เด็กจะสามารถเลือกวิชาหรือสายการเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จำที่เด็กจะต้องรู้จักและเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน ดังนั้น การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่ทางโรงเรียนจะละเว้นเสียไม่ได้เพราะบริการแนะแนวจะช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   รู้แนวทางในการศึกษาต่อในการประกอบอาชีพ และรู้จักที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพอีกด้วย  
        


ปัญหาที่ควรได้รับการแนะแนว
          ปัญหาต่างๆ ของนักเรียนที่เกิดขึ้นและสมควรจะได้รับการแนะแนวนั้นมีอยู่มากมายแต่พอจะจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 8 ประเภท คือ
     1  .ปัญหาที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายและสุขภาพ
          1.1  ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
          1.2  สุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว
          1.3  รูปร่างไม่ดี ขาดอาหาร อ้วนหรือผอมเกินไป
          1.4  การรับประทานอาหาร การดื่ม การออกกำลังกายและการพักผ่อน
          1.5  การรักษาความสะอาดและการป้องกันโรค
          1.6  การขับถ่ายของเสีย
          1.7  การใช้ยา
   2.  ปัญหาเกียนกับการศึกษาเล่าเรียน เช่น
     2.1  ไม่ชอบครูบางคน เนื่องจากดุเกินไป หรือไม่ให้ความยุติธรรม
      2.2  ไม่ชอบเรียนวิชาบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
      2.3  ขาดนิสัยและทักษะในการเรียนที่จำเป็น เช่น การอ่านหนังสือการค้นคว้าเขียนรายงาน การเตรียมตัวสอบ การทำตารางประจำวัน หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น
      2.4  รู้สึกประหม่าเมื่อถูกครูถาม หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น
      2.5  ขี้เกียจ ชอบลอกงานเพื่อน ไม่พยามยามทำงานอย่างเต็มความสามารถของตน
      2.6  ท้อถอย ไม่สู้งาน ชอบหนีเรียน
  3.  ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว
     3.1  มีความรู้สึกขัดแย้งกับบิดามารดาของตน เนื่องจากถูกบังคับมากเกินไป
     3.2  มีความรู้สึกขาดความอบอุ่น เนื่องจากบิดามารดาไม่เอาใจใส่
     3.3  มีความรู้สึกขาดเพื่อน เนื่องจากเป็นลูกคนเดียว
     3.4  มีงานต้องช่วยบิดามารดาทำมากเกินไป
     3.5  ขาดความสามัคคีในหมู่พี่น้อง
     3.6  ไม่ได้รับความยุติธรรมจากบิดามารดา
     3.7  ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ดี  มีสภาพบ้านแตก
     3.8  บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน
     3.9  บิดามารดาปฏิบัติต่อนักเรียนเหมือนเด็กเล็ก
 4.  ปัญหาด้านการเงิน เช่น
     4.1  ขาดผู้อุปการะส่งเสียให้เล่าเรียน
     4.2  ต้องทำงานหารายได้ช่วยตนเองเพื่อใช้เป็นทุนในการซื้ออุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน
     4.3  ต้องการหารายได้ช่วยเหลือตนเอง
     4.4  ต้องการรู้จักวิธีการใช้จ่ายเงินที่เหมาะสม
     4.5  ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเป็นก้อน เพื่อตนจะได้รับผิดชอบการใช้จ่ายเอง
    4.6 ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเพิ่มขึ้น
 5.  ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนต่างเพศ
    5.1  การปรับตัวด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เช่น ความรัก การเกี้ยวพาราสี การกอดจูบ การแต่งงาน
    5.2  การมีนัดกับเพื่อนผู้ชายที่เป็นบิดามารดา หรือผู้ปกครองไม่รู้จัก
    5.3  บิดามารดาไม่อนุญาตให้ออกไปเทียวกับเพื่อนต่างเพศ
    5.4  การปฏิเสธการนัดของเพื่อนต่างเพศ โดยไม่ทำให้เขารู้สึกเจ็บปวด
6.  ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสังคม
    6.1  ต้องการให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป
    6.2  ต้องการเป็นคนที่มีกิริยามารยาทงาม
    6.3  ต้องการให้กิริยาท่าทาง การแต่งกาย และน้ำเสียงของตนเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
    6.4  เข้ากับคนอื่นไม่ได้
    6.5  อารมณ์อ่อนไหว ใจน้อย โกรธง่าย
    6.6  ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
    6.7  การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ
    6.8  ปรัชญาชีวิต เช่น ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม
    6.9  ความเป็นพลเมืองดี
7.  ปัญหาเกี่ยวกับการใช้เวลาว่าง
    7.1  การทำตารางประวันเพื่อเป็นการวางแผนใช้เวลาในแต่ละวัน
    7.2  การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ
    7.3  การทำงานศิลปะและการฝีมือ
    7.4  การสมาคมและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
    7.5  การมีเวลาว่างมาก
 8.  ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพ
    8.1  ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจเลือกเรียนต่ออะไรดี
    8.2  ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจประกอบอาชีพอะไรดี
    8.3  อยากเลือกเรียนอาชีพบางอย่างแต่ขาดทุนทรัพย์
    8.4  อยากเรียนต่อแต่ผู้ปกครองจะให้ออกไปประกอบอาชีพเจริญรอยตามผู้ใหญ่
    8.5  อยากเรียนวิชาชีพอย่างหนึ่งแต่บิดามารดาต้องการให้เรียนอีกอย่างหนึ่ง
    8.6  ขาดความรู้เกี่ยวกับการหางาน
    8.7  ขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้าสมัครงาน

ประโยชน์ของการแนะแนว
          1. ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
                   1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
                   1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
                   1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อ
ไป
          2. ประโยชน์ต่อนักเรียน
                   2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
                   2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
                   2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ในสังคมอย่างมีควา
มสุข
          3. ประโยชน์แก่ครู
                   3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
                   3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
                   3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดี
ขึ้น
          4. ประโยชน์แก่โรงเรียน
                   4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
                   4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็น
ต้น
          5.  ประโยชน์แก่ประเทศชาติ
                   ช่วยให้สังคมและประเทศชาติได้รับประชากรที่มีคุณภาพ ไม่เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและช่วยเพิ่มพูนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเด็กได้เรียนและได้ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับ

เป้าหมายของการแนะแนว  
                   ก็เพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถเอาตัวรอดและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม หรืออาจจะสรุปโดยรวมก็คือ  การพัฒนาคุณภาพชีวิตนั่นเอง ซึ่งสามารถพัฒนาได้ในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
                   1. พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ และอารมณ์
                    2. พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความรู้  การศึกษา  การเรียนรู้
                   3. พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการดำรงชีวิต  ความเป็นอยู่  และอาชีพ
                   4. พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม  และการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด
                   5. พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพร่างกาย  และการพัฒนาคุณภาพบุคลิกภาพ

ความมุ่งหมายของการแนะแนว
          ความมุ่งหมายของการแนะแนวสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
                   1.ความมุ่งหมายทั่วไป
                   2.ความมุ่งหมายเฉพาะ
1.  ความมุ่งหมายทั่วไป
          หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวโดยส่านรวมนั่นคือ การ
แนะแนวไม่ว่าจะจัด ณ สถานที่ใดก็ตามย่อมจะมีความมุ่งหมายทั่วไปเหมือนกัน หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน้าที่ของการแนะแนวก็ได้ ซึ่งมี 3 ประการด้วยกัน
         1.  เพื่อป้องกันปัญหา ( Prevention ) นั้นคือการแนะแนวมุ่งป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดปัญหาหรือความยุ่งยากในการดำเนินชีวิตของตนเพราะปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ นั้น สามารถป้องกันได้และการปล่อยให้นักเรียนเกินปัญหาขึ้นมาแล้วค่อยตามแก่ไขช่วยเหลือภายหลังนั้นทำได้ยากและต้องใช้เวลานาน ในบางกรณีอาจจะแก้ไขไม่ได้อีกด้วย
          2.  เพื่อแก้ไขปัญหา ( Curation ) นั้นคือ การแนะแนวมุ่งจะให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตน เพราะถ้าปล่อยให้นักเรียนประสบปัญหาโดยไม่ให้ความช่วยเหลือแล้ว นักเรียนย่อมจะไม่สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างปรกติสุขได้ และในบางครั้งอาจจะมีการปรับตัวที่ผิดๆ ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
         3.  เพื่อส่งเสริมพัฒนา ( Development ) นั่นคือการแนะแนวมุ่งจะให้การส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้เกิดความเจริญงอกงามมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนจะได้รับการส่งเสริมและแสดงความสามารถในด้านต่างๆ ของตนออกมาอย่างเต็มที่ โดยไม่มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาการของนักเรียน
2.  ความมุ่งหมายเฉพาะ
          หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวที่สถานศึกษาซึ่งจัดให้มีการบริการแนะแนวเป็นผู้กำหนดขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญา เป้าหมายหลักสูตร และสภาพสังคมของสถานศึกษานั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมายเฉพาะของการแนะแนวสำหลับสถานศึกษาแต่ละแห่งจะคล้ายคลึงกันไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น
           1.  เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ( Self-Understanding ) คือการช่วยให้นักเรียนรู้ถึงความต้องการ ความคิด ความสามารถ ความถนัด และข้อจำจัดต่างๆ ของตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษา อาชีพ การดำเนินชีวิตของนักเรียน
          2.  เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักปรับตัว  ( Self-Adjustment ) ให้เหมาะสมกับตนเองและสภาพแวดล้อมคือ การช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีปฏิบัติตนเพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและเป็นสุข
          3.  เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักนำตนเอง ( Self-Direction ) คือการช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักใช้สติปัญญาความสามารถของตนเองแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาดและเหมาะสม สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคต และสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
         4.  เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้วิจารณญาณคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และรู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยกะทันหัน
           5.  เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เพราะการมีสัมพันธภาพที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานของโรงเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
          6.  เพื่อช่วยฝึกในเรื่องประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนของชาติ เพราะการฝึกให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน และมีการปฏิบัติจริง จะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
          7.  เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนานักเรียนในที่สุด

ประเภทของการแนะแนว
              การแนะแนวสามารถจำแนกได้หลายประเภทตามลักษณะของปัญหาที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือจากทางโรงเรียน เช่น ถ้านักเรียนมีปัญหาทางด้านการเรียน การศึกษาต่อ การอ่านหนังสือการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดไห้กับนักเรียนเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ก็เรียนกว่า การแนะแนวการศึกษาถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ การหางาน การปรับตัว ให้เข้ากับงานการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดให้ก็เรียกว่า การแนะแนวอาชีพ ถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการสุขภาพอนามัยการช่วยเหลือของทางโรงเรียนเรียกว่า การแนะแนวสุขภาพ ถ้านักเรียนมีปัญหา เกี่ยวกับการแสดงออกเกี่ยวกับการคบเพื่อน เกี่ยวกับมารยาทสังคมการช่วยเหลือของทางโรงเรียนก็เรียกว่าการแนะแนวด้านสังคม เป็นต้น
          จะเห็นได้ว่าการแบ่งประเภทของการแนะแนวนั้น สามารถแบ่งได้มากมายตามลักษณะปัญหาของนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ก็พอจะสรุปแบ่งกันแนะแนวออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ 
          1.การแนะแนวการศึกษา
          2.การแนะแนวอาชีพ
          3.การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม
1.  การแนะแนวการศึกษา ( Educational Guidance )
          หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น แนวทางการศึกษาต่อ การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียน หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของโรงเรียน การค้นคว้าเขียนรายงาน การอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสร้างสมาธิในการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
             การให้บริการแนวแนวการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในเรื่องการศึกษาเล่นเรียนของตน ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนการศึกษาต่อของตนได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
        จุดมุ่งหมายของการแนะแนวการศึกษา
             1.  เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนการวักผลประเมินผล ตลอดจนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
             2.  เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รูจักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกแผนการเรียนได้อย่างถูกต้องตรงกับความเข้าใจ ความต้องการ ความถนัดและความสามารถของตน
             3.  เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับข้อสนเทศทางการศึกษาต่อในด้านต่างๆ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา วิธีการเข้าการศึกษา จำนวนที่รับ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา เป็นต้น
             4.  เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจักขึ้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ความสามารถพิเศษของนักเรียนปรากฏเด่นชัดและได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเต็มที่
             5.  เฟื่อช่วยให้นักเรียนได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาตามแผนการเรียนของตน
             การแนะแนวอาชีพ ( Vocational Guidance ) หมายถึงกระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินใจเลือกอาชีพ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้คนพบอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และสภาพร่างกายของตน
2.  การให้บริการแนะแนวอาชีพ
          จะช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบและตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องซึ่งจะเป็นผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจในงานของตน และมีชีวิตการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นการช่วยให้ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง
จุดมุ่งหมายของการแนะแนวอาชีพ
           1. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นความสำคัญของอาชีพ
           2. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และในโลกกว้าง
           3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสิ่งต่างๆ เช่น ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพระดับสติปัญญา สภาพร่างกาย ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพ
          4. เพื่อให้ข้อสนเทศแก่นักเรียนเกี่ยวกับอาชีพที่นักเรียนสนใจ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจในอาชีพนั้นๆ ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
          5. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีการแสวงหางาน วิธีการสมัครงานวิธีการปรับตัวให้เข้ากับงานและวิธีการปฏิบัติตนให้มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน
         6. เพื่อช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริตทุกอาชีพ
  3  การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม ( Personal and Social Guidance )
           หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียน ในเรื่องที่นอกเหลือจากด้านการศึกษาและอาชีพ เป็นการช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจตนเองและสภาพแวดล้อม ทำให้สามารถมีชีวิตและปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
 จุดมุ่งหมายของการแนะแนวด้านสวนตัวและสังคม
          1. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะและบุคลิกภาพที่เหมาะสมเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น
          2. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเอง ยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง และรู้จักปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
          3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
         4. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของตน
         5. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้มีเจตคติ ค่านิยมและจริยธรรมที่ถูกต้อง ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสีย
         6. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างและใช่จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์แก่ตนอย่างแท้จริง

           ในการแบ่งประเภทของการแนะแนวออกเป็น 3 ประเภท คือ การแนะแนว การศึกษา การแนะแนวอาชีพ และการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม นั้น เป็นการจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูลหรือข้อสนเทศ ที่ทางโรงเรียนนำมาให้การแนะแนวแก่นักเรียน แต่การแนะแนวทั้ง 3 ประเภทนี้ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น การช่วยเหลือนักเรียนในการวางแผนเกี่ยวกับอาชีพ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษาของนักเรียน และยังต้องศึกษาองค์ประกอบด้านส่วนตัวและสังคมของนักเรียนพร้อมกันด้วยการเพ่งเล็งให้การแนะแนวแก่นักเรียนเพียงด้านเดียว จะไม่ช่วยให้นักเรียนเกิดความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการสมบูรณ์ครบท้วนอย่างแท้จริง

งานบริการแนะแนว
          1. บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
                   เป็นบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่
                   - บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสม
                   - บริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
                   - ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
                   - สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรีย
          2. บริการสนเทศ (Information Service)
                    บริการสนเทศให้ความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ ทั้งทางด้านการศึกษา การเลือกอาชีพ และการปรับตัวเข้ากับสังคม บริการสนเทศ จะให้ความรู้ข่าวสารนอกเหนือจากการเรียน ช่วยให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น บริการสนเทศ นอกจากจะให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับนักเรียนแล้ว ยังจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะวางแผนการในชีวิต และวางจุดประสงค์ที่จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพต่าง ๆ รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นและสนใจในการปฏิบัติงาน นอกจากนั้น บริการสนเทศยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง   ต่าง ๆ อย่างถูกต้องและเป็นไปตามหลักของธรรมชาติ บริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่
                   - การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
                   - การจัดป้ายนิเทศ
                    - การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
                   - การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
                   - การจัดวันอาชีพ
                   - การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
                   - การจัดฉายภาพยนตร์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
                   - จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ
          บริการสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
                   1. บริการสนเทศทางการศึกษา (Educational Information)
                   2. บริการสนเทศทางอาชีพ (Occupational Information)
                   3. บริการสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม (Personal Informatio
n
          3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)
                   เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ
                   - ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
                   - ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
                   - เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
                   บริการให้คำปรึกษาจะช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจของนักเรียนและผู้ปกครองโดย อาจารย์แนะแนวมีจรรยาบรรณที่จะ "รักษาความลับของนักเรียน" ฉะนั้นการเข้าไปคุยกับครูแนะแนวจึงเป็นเรื่องที่เด็กฉลาดควรทำ ไม่ควรคิดผิด ๆ ว่า"เฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้นที่จะเข้าห้องแนะแนว" อาจารย์แนะแนวพร้อมที่จะเป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษาทั้งการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อ การหางานทำ หรือปัญหาส่วนตัว งานแนะแนวยินดีช่วยนักเรียนเสมอ จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษา
                   - ช่วยให้บุคคลมีความรู้สึกว่าตนเองไม่โดดเดี่ยวเมื่อเกิดปัญหา
                   - ช่วยทำให้บุคคลสามารถรู้จักและเข้าใจตนเองงได้อย่างถูกต้อง
                   - ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้ความคิด ใช้สติปัญญาที่มีทั้งหมดนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
                   - ช่วยให้บุคคลเกิดความกระจ่างขึ้นในใจ มองเห็นลู่ทางในการแก้ไขปัญหา
                   - ช่วยให้บุคคลเห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว
                   - ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
                   - ช่วยให้บุคคลรู้จักความอดทน เสียสละ ยอมรับต่อสภาวการณ์ที่แท้จริง
                   - ช่วยให้บุคคลมีการพัฒนาการ และเจริญงอกงามไปถึงขีดสูงสุด
          หลักของการให้คำปรึกษา
                    - การให้คำปรึกษาจะต้องกระทำไปโดยความสมัครใจของผู้มาขอรับคำปรึกษา
                    - ผู้ให้คำปรึกษาต้องมีความรู้ ผ่านการอบรมมีประสบการณ์และฝึกฝนเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา
                    - ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาเข้าใจตนเองและรู้จักตนเอง
                    - ผู้ให้คำปรึกษาต้องสามารถเข้าใจว่าปัญหาทุกอย่างไม่สามารถแยกออกจากปัญหาอื่นๆได้ อาจต้องมีความสัมพันธ์กัน
                    - การให้คำปรึกษาต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
                    - การให้คำปรึกษาต้องยึดหลักในการให้บุคคลสามารถปรับตัวได้
          วิธีการให้คำปรึกษา
          การให้คำปรึกษาแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
                    - การให้คำปรึกษาแบบนำทาง
                    - การให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง
                    - การให้คำปรึกษาแบบสายกลาง
                    การให้คำปรึกษาแบบนำทาง
                             จะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ผู้ให้คำปรึกษามีส่วยสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อปัญหาของเด็กโดยตรง การให้คำปรึกษาแบบนำทาง เป็นวิธีการที่ผู้ให้คำปรึกษาทำหน้าที่วางแนวทาง ชี้แนะแนวทาง รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาให้จบสิ้นลงด้วยดี
                    การให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง
                   เป็นวิธีการที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาจะเป็นผู้ไปขอคำปรึกษาด้วยความสมัครใจไม่มีบุคคลใดบังคับหรือส่งตัวไปโดยที่เขาไม่สมัครใจ การให้คำปรึกษาแบบนี้จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ปรับตัวไม่ได้ แต่มีความกระตือรือร้น หรือต้องการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเอง
                    การให้คำปรึกษาแบบสายกลาง
                             เป็นที่ยอบรับของบุคคลทั่งไป ทั้งนี้เพราะการให้คำปรึกษาโดยวิธีนี้เป็นการยืดหยุ่นกว่า ไม่ควรจะยึดแนวทางในการให้คำปรึกษาแบบนำทางหรือแบบไม่นำทางเป็นหลัก การให้คำปรึกษาแบบสายกลางเน้นว่าการให้คำปรึกษาที่ดีควรจะนำวิธีการทั้งสองอย่างเข้ามาใช้ เพราะการให้คำปรึกษาบางอย่าง ผู้ให้คำปรึกษาต้องมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น ช่วยวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาไปในทางที่ถูกต้องถ้าไม่ให้ความช่วยเหลือแล้ว การให้คำปรึกษาอาจจะล้มเหลวได้
          4. บริการจัดวางตัวบุคคล
                    การจัดวางตัวบุคคลเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับบริการต่าง ๆ ข้างต้น เป็นการวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงานตามที่คัดเลือก เป็นบริการที่ช่วยให้บุคคลได้เรียนตามวิชาที่ตนเองชอบ ช่วยให้มีโอกาสเรียนและประกอบอาชีพตรงตามความสามารถของตนเอง เป็นบริการที่จัดขึ้นช่วยเหลือนักเรียนทั้งที่ยังศึกษาอยู่ในโรงเรียนและสำเร็จการศึกษาไปแล้ว
          ประโยชน์ของการจัดวางตัวบุคคล มีดังนี้
                   - ช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนวิชาที่เหมาะสมตามความสามารถ
                   - ช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามความสามารถของตนเอง
                   - ช่วยให้นักเรียนใช้เวลาว่างทำงานพิเศษตามทที่ตนถนัด
                   - ช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนมีโอกาสทำงานพิเศษที่ตนเองชอบนอกเวลาเรียน
                   - ช่วยให้นักเรียนได้เลือกอาชีพตามความถนัดของตนเอง
                   - ช่วยให้นักเรียนที่สำเร็จไปแล้วมีโอกาสได้รับผลสำเร็จ
                   - ช่วยให้นักเรียนได้รับการประคับประคอง ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ
                   - ช่วยให้นักเรียนดำเนินแผนการต่างๆ ที่วางแผนไว้
          ประเภทของการจัดวางตัวบุคคล
                   - การจัดวางตัวบุคคลทางด้านการศึกษา
                   - การจัดวางตัวบุคคลในด้านอาชีพ
          การจัดวางตัวบุคคลทางด้านการศึกษา
                   การบริการจัดวางด้านการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
                   - การจัดวางตัวนักเรียนภายในโรงเรียน
                   - การจัดวางตัวนักเรียนภายนอกโรงเรียน
          การจัดวางตัวนักเรียนภายในโรงเรียน
                   - ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เลือกวิชาเรียนตามวามถนัด เช่น หลักสูตรมัธยมศึกษา 4-5-6 ซึ่งนักเรียนต้องเป็นผู้พิจารณาว่าตนเองจะสามารถศึกษาเล่าเรียนในวิชาที่ตนเองเลือกประสบความสำเร็จหรือไม่
                   - ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เรียนตรงตามหลักสูตร ต้องเลือกวิชาที่เป็นประโยชน์นักเรียนจะเป็นคนเลือกเอง
                   - ช่วยจัดวางตัวนักเรียนให้เลือกกิจกรรมเสริมลักสูตรที่ดีและมีคุณค่า เป็นการเสริมหลักสูตรทางด้านวิชาการให้มั่นคงยิ่งขึ้น
                   - ช่วยจัดวางตัวนักเรียนเข้าร่วมโครงการและจัดประสบการณ์ในการทำงาน เป็นการช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ
          การจัดวางตัวนักเรียนภายนอกโรงเรียน
                   - เป็นการจัดวางตัวนักเรียนที่ออกไปทำงานนอกกโรงเรียนในระหว่างวันหยุด โดยจัดส่งไปทำกับบริษัทหรือห้างร้านต่างๆ
                   - ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติงานที่แท้จริงและจะได้เป็นแนวทางในการเลือกอาชีพ
          การจัดวางตัวบุคคลทางด้านอาชีพ ควรให้บริการดังต่อไปนี้
                   -รู้จักข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ
                   - ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ
                   - ให้นักเรียนมีโอกาสฝึกฝน และรู้จักการงานทที่ตนเองคิดว่าจะไปประกอบอาชีพในอนาคต
          5. บริการติดตามผลประเมิ
                    บริการติดตามผล เป็นบริการสุดท้ายของบริการแนะแนว เป็นการติดตามดูว่าการจัดบริการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้น ได้ผลมากน้อยเพียงใด นักเรียนที่ออกจากโรงเรียนไปแล้วนั้นทั้งจบการศึกษาและยังไม่จบการศึกษาประสบปัญหาอะไรบ้าง รวมทั้งการติดตามผลดูนักเรียนที่ยังศึกษาอยู่ในโรงเรียนและจบการศึกษาไปแล้วว่าประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหรือไม่
          วิธีการติดตามผล ทำได้ดังนี้
                   1. การสัมภาษณ์นักเรียนด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงผลของการช่วยเหลือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใด
                   2. การสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียน เช่น เพื่อนนักเรียน เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง บิดามารดา เพื่อทราบถึงผลของการบริการ
                   3. การส่งแบบสอบถามไปยังนักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้ว หรือนักเรียนในโรงเรียนกรอรแบบสอบถาม เพื่อจะได้ทราบผลของการให้บริการ

คุณสมบัติของครูแนะแนว
           งานแนะแนวเป็นวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชานี้จำเป็นจะต้องเป็นผู้ได้รับการศึกษา ฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะจึงจะสามารถทำงานแนะแนวให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูแนะแนวนั้น กรมวิชาการ ได้กำหนดไว้ว่าอย่างน้อยควรจะมี 3 ประการ คือ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการแนะแนว และคุณสมบัติบางประการที่จำเป็น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
           1. วุฒิทางการศึกษา มีวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรีและได้รับการศึกษาอบรมทางด้านการแนะแนวหรือจิตวิทยาโดยเฉพาะ หรือได้รับการอบรมวิชาการแนะแนวตามหลักการที่คณะกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพของกระทรวงศึกษาธิการได้วางไว้
           2. ประสบการณ์ เป็นครูอย่างน้อย 5 ปี และไม่เคยปฏิบัติงานแนะแนวมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีและได้สอนนักเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ในระดับชั้นการศึกษาที่ทำหน้าที่แนะแนว
           3. คุณสมบัติที่จำเป็น
                   1. มีความสนใจเรื่องการแนะแนว
                   2. มีความสนใจทุกข์สุขของนักเรียน
                   3. มีความเข้าใจเรื่องการสอนการเรียน และทำการสอนได้ผลดีมาแล้ว
                   4. มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตมาแล้วพอสมควร
                   5. มีความรู้เกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ทันต่อเหตุการณ์เสมอ
                   6. ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม เช่นยุติธรรม มีขันติ มีความจริงใจ รักษาความลับและไว้วางใจได้
                   7. มีความสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
                   8. มีบุคลิกภาพดี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่ติดต่อด้วย นักเรียนอยากเข้าใกล้และเกิดความรู้สึกไว้วางใจ
                   9. ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของคนอื่น สามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น
                   10. มีศิลปะในการพูด การฟัง อันจะทำให้การแนะแนวบรรลุผลตามความมุ่งหมาย
                   11. มีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตดี
                   12. มีอารมณ์มั่นคงและมีอารมณ์ขัน
                   13. มีใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
                   14. มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขุมรอบคอบ

นอกจากนี้ นักวิชาการบางท่านได้กำหนดคุณลักษณะที่ของครูแนะแนว  7 ด้าน คือ
                   1.   บุคลิกลักษณะ
                         บุคลิกลักษณะที่สำคัญของครูจิตฯ แนะแนว
                                -    สุภาพ อ่อนโยน
                                -    มีความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือนักเรียน
                                -    มีความมั่นคงทางอารมณ์
                                -    ใจกว้าง เปิดรับข้อมูลจากนักเรียน รับฟังความคิดเห็น
                                -    แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
                                -    มีความเชื่อมั่นในตนเอง สุขุม ละเอียดรอบคอบ
                                -    บุคลิกภาพดี ผู้อื่นรู้สึกอยากใกล้ ไว้วางใจ
                   2.   ด้านมนุษยสัมพันธ์
                         คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์
                                -    มีความเป็นกันเอง
                                -    ร่วมงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                                -    เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
                                -    ให้เกียรติและยอมรับผู้อื่น
                                -    เข้าใจ เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ
                                -    ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                                -    ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
                                -    มีศิลปะการพูดและการฟัง
                   3.   ด้านความเป็นผู้นำ
                         คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ
                                -    มีความเสียสละ
                                -    มีความรับผิดชอบ
                                -    มีความเป็นประชาธิปไตย
                                -    ใฝ่หาความรู้
                                -    คิดริเริ่ม
                                -    กล้าแสดงความคิดเห็น
                                -    สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                -    ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   4.   ด้านคุณธรรมและความประพฤติ
                         คุณลักษณะด้านคุณธรรมและความประพฤติ
                                -    ซื่อสัตย์ สุจริต
                                -    ยุติธรรม
                                -    รักษาความลับ
                                -    มีหลักการและอุดมคติ
                                -    มีคุณธรรมและจริยธรรม
                                -    ยึดหลักความถูกต้อง
                                -    เป็นแบบอย่างที่ดีงาม
                   5.   ด้านการดำเนินชีวิต
                         คุณลักษณะด้านการดำเนินชีวิต
                                -    มีความพึงพอใจในตนเอง ครอบครัว อาชีพ
                                -    มีความรู้ความเข้าใจในงาน
                                -    เป็นผู้ทันเหตุการณ์
                                -    มีความยืดหยุ่น
                   6.   ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว (การสอน)
                         คุณลักษณะด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว
                                -    รู้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลระบบการศึกษา และอาชีพ
                                -    รู้กลวิธีการแนะแนว
                                -    รู้ด้านจิตวิทยา
                                -    มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และการทดลอง
                                -    รู้จรรยาบรรณ และหน้าที่ของครู
                   7.   ด้านทักษะการแนะแนว
                         คุณลักษณะด้านทักษะการแนะแนว
                                -    ทักษะในการเก็บข้อมูลรายบุคคล การใช้เครื่องมือต่างๆ
                                -    การบริการสนเทศ การจัดหาข่าวสาร การถ่ายทอดข่าวสาร
                                -    การให้คำปรึกษา
                                -    การจัดวางตัวบุคคล
                                -    การประเมินผล และติดตามผล
                                -    การประชาสัมพันธ์
          สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ครูแนะแนวในยุคประชาคมอาเซียน จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
                   1. มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายในการทำงานและมีแผนงานที่ดี
                   2. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และรอบรู้ในหลายด้าน ทั้งต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผ่านมา
                   3. ต้องทำให้เด็กรู้จักคิดว่าตัวเองเป็นอย่างไร คิดเป็น และไม่เฟ้อฝัน
                             4. ครูต้องเข้าใจ อ่านใจเด็กได้ว่าถนัดและสามารถอะไร เพื่อชี้แนะเด็กได้ถูกทาง
                             5. ครูต้องมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริตและเห็นประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว
                             6. ครูต้องไวและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งการปรับแผนการจัดกิจกรรมให้เด็ก หาข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียน อาชีพที่เป็นที่ต้องการและเงินเดือนแต่ละอาชีพ เพื่อบอกเด็กเตรียมตัว
                             7. ครูต้องแนะนำสิ่งที่เด็กชอบ และชอบในสิ่งที่ทำ เพื่อค้นพบศักยภาพของตัวเอง
                             8. มองทุกอย่างเป็นระบบ
                             9. ให้ลูกศิษย์ช่วงชิงโอกาสทองของชีวิต
                   10. ต้องรู้จักประยุกต์ทฤษฎีให้สอดคล้องกับการปฏิบัติที่เป็นจริง

จรรยาบรรณของครูแนะแนว 
           1. เคารพในศักดิ์ศรี และส่งเสริมสนับสนุนสวัสดิภาพของนักเรียน
           2. สัมพันธภาพในการให้คำปรึกษา และเก็บความลับ
           3. บันทึกต่างๆ เกี่ยวกับนักเรียนในการให้คำปรึกษาหรือ Case Study จะต้องปกปิดเอกลักษณ์
           4. ในกรณีให้คำปรึกษา จะต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงเงื่อนไขต่างๆ
           5. หากมีการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ ครูแนะแนวจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงสภาพที่จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญอยู่ในสภาวะขัดแย้งในใจ
           6.  ให้เป็นอิสระจากข้อผูกพันใดๆ
           7. หากไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ควร ส่งต่อ
           8. หากได้รับข้อมูลที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น รายงานเงื่อนไข หรือสภาพการณ์แก้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เปิดเผยว่าได้รับข้อมูลมาจากไหน
           9. หากมีผู้อื่นมาช่วยในการให้คำปรึกษา แล้วเกิดปัญหาที่ก่อให้เกิดอันตราย จะต้องรายงานข้อเท็จจริงต่อผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดข้อบังคับ

          การที่จะเป็นครูแนะแนวที่ดีได้นั้นต้องมีใจรัก  หากบุคลิกภาพหรือคุณสมบัติไม่เพียงหากแต่มีใจรัก ก็สามารถพัฒนาตนเองเพื่อให้มีศักยภาพได้ เพราะอาชีพนี้เป็นวิชาชีพเฉพาะที่ครูผู้สอนต้องมี ความร็ทั้ง 3 ด้าน  ได้แก่ พุทธิพิสัย  ความสามารถทางสติปัญญา คือความรู้ในหลักการแนะแนวต่างๆ จิตพิสัย  คือคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะพิสัย  คือทักษะในการประกอบอาชีพ  นอกจากนี้ครูแนะแนวยังต้องมีบุคลิภาพที่ดี ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือมีความเชื่อมั่น และเกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยเหลือตนเองตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไป



การแนะแนวคืออะไรใครรู้บ้าง
คือแนวทางพัฒนาอย่าฉงน
ที่มุ่งหมายให้เราเข้าใจตน
รู้จักขวนขวายหาทางสร้างตนเอง

การแนะแนวยังหมายให้เด็กนั้น
แก้หรือกันปัญหาไซร้ได้ตรงเผง
รู้จักโลกทุกสิ่งอันไม่หวั่นเกรง
ปรับตนเองอย่างฉลาดปราดเปรื่องเอย

 
 













อ้างอิง

บุญประสิทธิ์  กนกสิงห์,2529; จุรี วาทิกทินกร,2534;  สมพิศ  แดงวัง,2537; นงลักษณ์  ประเสริฐ และจรินทร    วินทะไชย์,2548; นิรันดร์ จุลทรัพย์,2551; กระทรวงศึกษาธิการ,2551อ้างใน แนะแนวชุดฝึกอบรม          โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์      มหาวิทยาลัยและศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ,2554)
สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย, คุณสมบัติของครูแนะแนว, 2556
e-book.ram.edu/e-book/p/PC422/